จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 302 : สังคมเทคโนโลยี (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-302

      

การมาถึง (Advent) ของการประมวลคำ (Word processor), เครื่องถ่ายสำเนา (Photo-copy) ฯลฯ นำมาซึ่งการเสื่อมถอยของอาชีพ (Occupation) ของคนทำงานในสำนักงาน (White collar) อาทิ นักพิมพ์ดีด และเลขานุการ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่มีแนวโน้มที่จะถูกจำกัดอยู่กับอาชีพที่ค่อนข้างเป็นกิจวัตรประจำวัน (Routine)

การใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) ซึ่งพยายามเลียนแบบ (Emulate) ความสามารถในการวินิจฉัย (Diagnostic) ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ มีแนวโน้มที่จะอยู่แนวหน้า (Fore) กิจการลงทุนและธนาคารขนาดใหญ่ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการติดตามผล (Monitor) การเปลี่ยนแปลงในราคาตลาดหุ้น และสามารถริเริ่ม (Initiate) การซื้อและขายหุ้นโดยอัตโนมัติ (Automatically)

ในอนาคต เป็นไปด้ที่จะปรึกษาแพทย์คอมพิวเตอร์ (Computerized doctor) ซึ่งจะทำงานในบทบาทเดียวกับนักเวชปฏิบัติทั่วไป (General practitioner) โดยการวิเคราะห์การสนองตอบของผู้ป่วยต่อจำนวนคำถามต่อเนื่อง (Series) ผ่านขั้นตอนการคำนวณ (Algorithm) บนพื้นฐานของกระบวนการวินิจฉัยของแพทย์ตัวจริง

ผลกระทบของระบบอัตโนมัติย่อมกระทบต่อชีวิตของผู้สูงวัยในรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort) หนึ่งในประเด็นขั้นพื้นฐานที่สุดเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง (Shift) ในแนวทางปฏิบัติของการทำงาน โดยมีการเปลี่ยนแปลงในภูมิหลังของสังคมและเศรษฐกิจ (Socio-economic background) ของผู้ที่เกษียณอายุแล้ว

ชนชั้นสังและประเภทของอาชีพสามารถพยากรณ์ (Predictive) ทัศนคติต่อชีวิตในบั้นปลาย และอาจมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ (Pattern) ของพฤติกรรม และวิถีชีวิต (Life-style) ในประชากรสูงวัยโดยรวม (Whole) อย่างไรก็ตาม การพิจารณาของแนวโน้มอนาคตบนพื้นฐานของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเป็นการคาดเดา (Speculative) ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

การพินิจพิเคราะห์ (Perusal) การพยากรณ์อนาคตในตำรา (Textbook) ในคริสต์ทศวรรษ 1960s พบคำเตือนที่เหมาะสม (Suitable warning) จากผู้เชี่ยวชาญ (Authoritative) ว่า ในคริสต์ทศวรรษ 1990s [30 ปีให้หลัง] ทุกคนจะตายจากมลภาวะเป็นพิษ (Pollution), สงครามนิวเคลียร์, ความอดอยาก (Famine) และ/หรือ ประชากรล้นโลก (Over-population)

อีกมิติหนึ่งก็คือ ทุกคนจะมีชีวิตอยู่อย่างหรูหรา (Luxury) โดยความเพ้อฝัน (Whim) ทุกอย่างจะได้รับการสนองตอบ (Cater) โดยหุ่นยนต์ (Robot) มีความน่าจะเป็นสูง (Highly probable) ที่การพยากรณ์จากนี้ไปจะน่าหัวเราะ (Ludicrous) ในทำนองเดียวกัน มนุษยชาติมีนิสัยแปลกประหลาดในการค้นหางานเพิ่ม เมื่อโอกาสการจ้างงานแบบเก่าถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ

สิ่งที่น่าสนใจมากกว่า สำหรับนักจิตวิทยา ก็คือแนวโน้มของผลกระทบโดยตรงของเทคโนโลยีต่อผู้สูงวัย ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดการณ์ (Anticipated) จากผลกระทบของนวัติกรรมทางเทคโนโลยีก่อนหน้านี้ การแพร่หลาย (Ubiquitous) ของโทรศัพท์, โทรทัศน์, และวิทยุทำให้ผู้สูงวัยทุกคน (ไม่เฉพาะผู้ร่ำรวยเท่านั้น) เข้าถึงโลกภายนอก ที่อาจคิดกันไม่ถึง (Unthinkable) เมื่อ 50 ปีที่แล้ว

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Technology and the New Environment for the Elderly https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK219343/[2021, January 26].