จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 301 : อนาคตของชราภาพ (4)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 20 มกราคม 2564
- Tweet
สรุปแล้ว โรคหัวใจที่มีอันตรายร้ายแรง (Fatal) มิได้เพียงทำให้ตับที่กำลังล้มเหลว (Failing liver) เป็นสาเหตุของการตาย แม้จะเป็นกรณีส่วนมาก (Proportion) ของผู้ใหญ่สูงวัย แต่ก็มิใช่เป็นจริงสำหรับกรณีทั้งหมด (Universal truth) เนื่องจากข้อพิจารณาเหล่านี้ จึงไม่มีแนวโน้มว่าผู้มีอายุ 70 ปี หรือเกินกว่านั้นจะแสดง (Display) ความชื่นชมอายุคาดที่ยาว (Life expectancy) ขึ้นในอนาคต
แม้จะค้นพบวิธีรักษาการเจ็บไข้ได้ป่วยของบางคน วิธีเอาชนะ (Overcome) การเสื่อมถอยของชราภาพจะต้องถูกค้นพบ (Discovered) ก่อนที่จะได้เก็บเกี่ยว (Reap) ผลประโยชน์ ซึ่งก่อให้เกิดประเด็นถกเถียง (Controversial) ว่า จะมีสิ่งกระตุ้น (Impetus) ให้ดำเนิน (Pursue) การค้นหาดังกล่าวหรือ? โดยเฉพาะภาระทางการเงินที่จะต้องเลี้ยงดูประชากรผมสีเทา [ขาว]
การชื่นชม (หรือไม่ชื่นชม) อายุคาดที่ยืนยาวขึ้น ทำให้ปัญหานี้ซับซ้อน (Compound) ขึ้นไปอีก แล้วยังมีประเด็นเรื่องศีลธรรม (Moral) อีกด้วย กล่าวคือ ถ้ามีการค้นพบวิธีการยืด (Prolong) อายุชีวิต ก็จะต้องมีคำถามว่า คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นคุ้มค่าความพยายาม (Worthwhile worthiness) ที่ลงทุนไปหรือไม่?
นอกจากนี้ หัตถการ (Procedure) ยืดอายุนั้น อาจเป็นอันตราย (Hazardous) ตัวอย่างเช่น ในการจำลองตัวเอง (Replication) ของ DNA (=Deoxyribonucleic acid) หางของมันที่เรียกว่า “ทีโลเมียร์” (Telomere) จะหดสั้นลงเรื่อยๆ จนพอถึงจุดหนึ่ง เซลล์นี้ก็จะไม่สามารถแบ่งตัวได้อีกต่อไป และตายในที่สุด ในความพยายามที่จะยืดอายุของทีโลเมียร์ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการติด (Contract) โรคมะเร็งได้
ถ้าพิจารณาโอกาส (Prospect) ของการเพิ่มอายุชีวิตเทียม (Artificial) แล้วผู้ป่วยตัดสินใจ (ด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่) ที่จะไม่ต้องการยืดอายุดังกล่าว จะถือว่าการปฏิเสธ (Refusal) นี้เป็นการยอมรับการฆ่าให้ตายอย่างสมัครใจ (Voluntary euthanasia) หรือไม่? ซึ่งเป็นการเข้าถึงได้เฉพาะผู้ที่ร่ำรวย (Wealthy) เท่านั้น
คำถามต่อไปก็คือ ผู้คนเหล่านั้นสมควรได้รับการต่ออายุชีวิต (Extra life) เพียงเพราะเขามีเงินหรือ? คำถามอย่างมีเมตตา (Mercifully) ดังกล่าว ในอนาคตอันใกล้ (Foreseeable future) คงสงวน (Preserve) ไว้อยู่ในแวดวงของนักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ (Science fiction) เพราะยังไม่มีแนวโน้มของการใกล้มาถึง (Imminent advent) ของยาอายุวัฒนะที่ได้ผล
อีกผลกระทบหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี คืองานอัตโนมัติ ซึ่งเป็นธรรมดาสามัญ (Commonplace) ของนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่จะเล็งเห็น (Envisage) ว่าถึงเวลาที่งานทำด้วยมือ จะกลายเป็นงานสงวนของเครื่องจักร และการเสื่อมถอยลงอย่างเห็นได้ชัด (Marked) ของแรงงานด้วยมือ เป็นสัดส่วนสูงขึ้นของคนทำงาน (Work-force) ทั้งหมด ซึ่งก็เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดแจ้ง (Testament) เลยทีเดียว
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- The Future of Aging. https://qz.com/is/what-happens-next-2/1490604/future-of-aging/[2021, January 19].