จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 300 : อนาคตของชราภาพ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-300

      

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของงานอัตโนมัติ (Automatic work) โดยเฉพาะการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerization) อาจเปลี่ยนปลงทัศนคตินี้ การทำงานที่น้อยลงในแต่ละสัปดาห์, การเพิ่มขึ้นของชั่วโมงทำงานที่ยืดหยุ่นได้ (Flexi-hours) , และการทำงานที่บ้าน (Home office) อาจนำไปสู่สภาวะที่คนในวัยทำงานได้ใช้ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นที่บ้านแทนที่ทำงานตามธรรมเนียมปฏิบัติเดิม (Traditional workplace)

นี่หมายความว่า ผู้สูงวัยที่เกษียณแล้ว อาจไม่ถูกคัดออก (Marked out) เพียงเพราะเขามิได้อยู่ในที่ทำงาน ประเทศอุตสาหกรรมจำนวนมากกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง (Alter) อายุเกษียณ แต่แท้จริงแล้ว (In essence) เป็นการแก้ไข (Tinker) ด้วยรายละเอียด ประเด็นพื้นฐาน (Fundamental) เกี่ยวกับสันทนาการ ไม่ได้ถูกกระทบด้วยชราภาพเลย

อาจเป็นสำนวนที่ซ้ำซากน่าเบื่อ (Cliché) ที่จะพูดว่า มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย (Immense) ในวิถีชีวิต (Life-style) ของคนในประเทศอุตสาหกรรมว่า เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ใน 100+ กว่าปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้ม (Tempting) ที่จะจินตนาการว่า ผู้สูงวัยจะถูกคลื่น (Tidal wave) การเปลี่ยนแปลงซัดพาไป (Swept) และนี่เป็นประเด็นว่า เขาจะรับมือกับมันได้อย่างไร?

โดยสามัญสำนัก (Intuitive) แล้ว เราอาจสมมุติว่าผลกระทบ (Impact) ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจะเป็นการเพิ่มพูนการดูแลทางด้านการแพทย์ และผู้คนจะอยู่ยาวนานขึ้นเพราะเหตุนี้ อย่างไรก็ตาม มันอาจไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้น การเพิ่มขึ้นของอายุคาดเฉลี่ย (Average life expectancy) ส่วนใหญ่แล้วเป็นผลมาจากจำนวนทารก (Infancy) ตายน้อยลง มากกว่าอายุคาดที่ยาวขึ้นโดยตัวมันเอง (Per se)

อันที่จริง เมื่อพิจารณากลุ่มชราภาพ ยิ่งสูงวัยขึ้นเท่าไร จะพบยิ่งน้อยลงของอายุคาดที่เป็นผลจากการแพทย์สมัยใหม่ (Modern medicine) โรคภัยไข้เจ็บของที่ทำให้ผู้ใหญ่สูงวัยต้องทนทรมาน (Afflict) อาทิ โรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardio-vascular) ก็ยังเป็นโรคที่รักษาไม่หาย (Incurable) ในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 1900

จริงอยู่ การดูแลแบบบรรเทาอาการ (Palliative care) ได้ช่วยบรรเทา (Alleviate) การทนทุกข์ทรมานอย่างมีประสิทธิภาพ อาจช่วยยืด (Prolong) อายุคาดได้บ้าง (Slightly) แต่ถ้าสามารถค้นพบวิธีรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ก็ไม่จำเป็นต้องยืดอายุผู้ป่วยอีกต่อไป การค้นพบการรักษารูปแบบ (Form) หนึ่งของโรคมะเร็ง ก็มิได้หมายความว่าจะรักษารูปแบบอื่นของโรคมะเร็งได้

นอกจากนี้ การรักษาผู้ป่วยสูงวัยให้หายจากโรคหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเพิ่มอายุคาดของเขาอย่างมีนัยสำคัญ ตามข้อสังเกต ผู้ใหญ่สูงวัย (โดยเฉพาะผู้มีอายุมากกว่า 75 ปี) อาจมีหลายกระบวนการทางร่างกายที่ใกล้ (Verge) จะล้มเหลว (Collapse) และการป้องกันการจู่โจม (Strike) ของโรคหนึ่ง มิได้ทำให้ภูมิคุ้มกัน (Immune) ลดลงจากการเสื่อมถอย (Degradation) [ของร่างกาย]

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. The Future of Aging. https://qz.com/is/what-happens-next-2/1490604/future-of-aging/[2021, January 12].