จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 297 : บทสรุปการตาย
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 23 ธันวาคม 2563
- Tweet
ในเรื่องการตาย (Death), กำลังจะตาย (Dying), และการตายของคนใกล้ชิด (Bereavement) เป็นหัวข้อที่โดยธรรมชาติแล้ว (Inherently) ชุ่มโชก (Imbued) ด้วยประเด็นที่อัดแน่นด้วยอารมณ์ความรู้สึก (Emotionally loaded) ดังนั้น จึงเป็นหัวข้อที่เรียกร้องให้มีการทำวิจัยให้เห็นเด่นชัด โดยมีการกำหนด (Establish) กรอบการทำงานในการสืบค้น (Inquiry) เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ด้วยตรรกะ (Logical analysis) เมื่อเหตุผลอาจถูกบดบัง (Clouded) โดยอารมณ์ความรู้สึก
แต่นั่นอาจเป็นสิ่งที่ไม่พบย่อย (Rarely) ในทางปฏิบัติ แบบจำลองหลัก (Key model) ที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นบนพื้นฐานการเก็บข้อมูลที่ไม่สู้ดีนัก จึงไม่ค่อยแม่นยำในบทสรุป (Inaccurate conclusion) งานวิจัยส่วนที่เหลือ ซึ่งชอบด้วยเหตุผลของมันเอง ได้เปิดเผย (Uncover) ตัวแปรกวน (Confounding) และให้เหตุผลแก่คำถามจริยธรรมเกี่ยวกับความเหมาะสม (Appropriateness) ของการตัดสินใจหลายอย่างใน 2 – 3 วันสุดท้ายของผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ชัดเจนก็คือความจำเป็นของแต่ละบุคคลที่ต้องระบุให้เห็นเด่นชัดของผู้ป่วย ว่าเขาต้องการได้รับการปฏิบัติอย่างไร หากไม่สามารถ (Incapable) รับรู้ในความคิด และต้องพึ่งพาการพยุงชีพ (Life support) ตัวอย่างเช่น นักวิจัยถกเถียงว่า ผู้ป่วยควรมีสิทธิ์เลือกที่จะยุติการทำงานของหัวใจและการหายใจ (Cardio-respiratory function) หรือไม่? หรือการสูญเสียการทำงานของสมองถือว่า (Constitute) เป็นการตายหรือไม่? การบันทึกสิ่งที่ค้นพบว่า ส่วนใหญ่ของผู้สูงวัย แสดงความจำนงว่าปรารถนาจะตัดสินใจเอง ในเรื่องต้องการได้รับการปฏิบัติอย่างไรในระยะสุดท้ายของชีวิต อย่างไรก็ตาม บางคนฉุกคิดว่า เมื่อถึงเวลาตัดสินใจ ผู้ป่วยอาจไม่สามารถแสดงออกซึ่งความจำเป็น
ในการศึกษาประวัติผู้สูงวัยชาวอเมริกันที่กำลังจะตาย จำนวน 3,746 ราย นักวิจัยพบว่า 42.5% ของผู้กำลังจะตายต้องการกระบวนการตัดสินใจในช่วง 2 – 3 วันสุดท้าย (Final few days) และในจำนวนนี้ 70.3% ได้สูญเสียความสามารถในการตัดสินใจไปแล้ว ดังนั้นเกือบ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่กำลังตายไม่สามารถตัดสินใจประเด็นสำคัญ (Vital) เกี่ยวกับช่วงวันสุดท้าย
นักวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้ใหญ่สูงวัยได้ให้คำสั่งก่อนหน้านั้น (Prior instruction) เขาได้เลือกการรักษาพยาบาลที่แตกต่างอย่างมาก (Radically different) จากการรักษาพยาบาลที่ให้แก่ผู้ป่วยที่มิได้มีคำสั่งล่วงหน้า จึงมีความน่าจะเป็นสูงที่บุคลากรทางการแพทย์ดำเนินการที่ขัดแย้ง (Contradiction) กับสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ หากเขาสามารถเลือกได้ แม้ว่าบุคลากรทางการแพทย์มีความเชื่ออย่างจริงใจในสิ่งที่ปฏิบัติต่อผู้ป่วยในลักษณะดีที่สุด (Best manner) เท่าที่เป็นไปได้
ในทางปฏิบัติมีเพียงส่วนน้อย (Minority) ของผู้เข้าร่วมวิจัยที่ได้เซ็นเอกสารระบุว่า เขาปรารถนาที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างไรในกรณีที่จำเป็นต้องได้เครื่องพยุงชีพ (Life support) ความสับสนวุ่นวาย (Confusion) ในเรื่องความปรารถนา (Wish) ในระยะสุดท้ายเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึงสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง และถ้าต้องลงเอยในศาล มีทนายความเท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Death and bereavement .https://www.nhsinform.scot/care-support-and-rights/death-and-bereavement [2020, December 22].