จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 294 : ภาวะเป็นหม้าย (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-294

      

ปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง (Underlying) เหตุการณ์ดังกล่าว ได้แก่ การไม่ชอบทำงานบ้าน (Domestic chores) ของผู้ชาย และความรู้สึกด้อยความสามารถในการช่วยญาติที่เยาว์วัยกว่า นักวิจัยถกเถียงว่า พ่อหม้ายดูเหมือนจะกลับคืนสู่สภาพเดิม (Resilient) เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะหายไปจากจอเรดาร์ (Radar)

เขามักจะแต่งงานใหม่ได้ง่าย (เพราะจำนวนแม่หม้ายมีมากกว่าพ่อหม้าย) หรือหายไปจาการรับรู้ (Awareness) เพราะรู้สึกว่า ถูกแยกตัวออก (Exclude) จากงาน ซึ่งเห็นได้ชัด (Pre-dominantly) ว่า เหมาะสำหรับผู้หญิงมากกว่า งานวิจัยเมื่อมานานมานี้ชี้ให้เห็นภาพที่ซับซ้อน (Complex) ยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่าภาวะเป็นหม้าย (Widowhood) ทำให้คู่ชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ (Surviving partner) ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย ต่างต้องพึ่งพาลูก (ที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว) มากยิ่งขึ้น และหากเป็นผู้หญิงด้วยแล้ว มักต้องพึ่งพาลูกในเรื่องคำแนะนำทางกฎหมายและทางการเงิน ซึ่งสะท้อน (Reflect) บทบาทของเพศตามประเพณีที่ผู้ชายมีความรับผิดชอบโดยตรงในเรื่อง (Matter) เหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม ระดับของการพึ่งพาจะลดลง หากระดับการศึกษาของผู้หญิงสูง นอกจากนี้ ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ระดับการสนับสนุนทางอารมณ์ (Emotional support) ต่อลูก ก็สูงขึ้นด้วย นักวิจัยฝรั่งได้ศึกษาเรื่องพ่อหม้าย (Widower) ชาวไทย แล้วพบภาพที่ซับซ้อนเหมือนกัน โดยที่แม่หม้ายไทยมักมีระดับการอ่านออก-เขียนได้ (Literacy) และระดับรายได้ (Income) ที่ต่ำกว่าคู่ชีวิตชายที่ตายไป

แม้พ่อหม้ายมีอัตราอยู่รอดที่ต่ำกว่า แต่ก็มีแนวโน้มน้อยกว่าที่จะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากลูก จึงมีความน่าจะเป็นสูงกว่าที่ลงเอยด้วยหนี้สิน (Debt) แต่ก็มีปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาเหล่านี้ เนื่องจากการศึกษามักเป็นแบบตัดตามขวาง (Cross section) ในห้วงเวลาเดียวกัน

นักวิจัยศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) ที่ยาวนานถึง 8 ปี แล้วพบว่า ผลกระทบอันตราย (Deleterious effect) ของผู้เป็นหม้าย ได้อันตรธานหายไป จากมุมมอง (Perspective) ข้ามห้วงเวลา นอกจากนี้ ยังไม่พบผลกระทบที่แตกต่างระหว่างเพศหญิงกับเพศชาย

ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าประสบการณ์ของภาวะเป็นหม้ายถูกกำหนด (Dictated) โดยปัจจัยหลากหลาย (Multitude of factors) และ เช่นเดียวกับหลายแง่มุม (Aspects) ของงานวิจัยด้านชราภาพ (Aging research) มันเป็นการยากที่จะสรุปโดยทั่วไป (Generalization) อย่างไม่คาใจ (Comfortable) ในเรื่องผลกระทบของการตายของคนใกล้ชิด (Bereavement) เกินกว่าการสรุปเพียงผิวเผิน (Superficial gloss) กล่าวคือ ไม่ลึกซึ้ง

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Widowhttps://en.wikipedia.org/wiki/Widow[2020, December 1].