จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 293 : ภาวะเป็นหม้าย (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 25 พฤศจิกายน 2563
- Tweet
ระดับของความสูญเสียและความวิตกกังวล (Anxiety) มีสหสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการพึ่งพาผู้ตาย (Deceased) ของผู้เป็นหม้าย นักวิจัยพบว่า ความเชื่อมั่น (Belief) ในจิตวิญญาณของชีวิตหลังการตาย (Spiritual afterlife) ซึ่งส่งผลให้ระดับความดันโลหิตสูง (Hypertension) ลดลงในบรรดาผู้ประสบการตายของคนใกล้ชิด (Bereavement) ซึ่งสัมพันธ์กับสุขภาพที่ทรุดลง
แต่ในการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) นักวิจัยอีกคนถกเถียงว่า การดำรงรักษาพฤติกรรมไม่มีผลกระทบที่ทำให้สุขภาพทรุดลง ในกรณีส่วนมาก (Majority) การปรับตัวต่อการสูญเสียคู่ชีวิต ทำได้น่าพึงพอใจเป็นอย่างน้อย หรือดีมาก (Robust) ด้วยซ้ำ แม้ว่าจะมีสัญญาณคงเหลือ (Residual sign) ของความเศร้าโศก (Grief) และความรู้สึกอื่นในเชิงลบ 30 เดือนหลังการตายของคนใกล้ชิด สัดส่วนไม่น้อย (20%) ของผู้เป็นหม้ายรายงานว่าไม่สามารถรับมือได้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีแง่มุม (Aspect) ที่เป็นลบของความสัมพันธ์ส่วนตัวภายในแวดวงสังคม (Social circle) ของผู้เป็นหม้ายที่นักวิจัยได้ค้นพบว่าเพิ่มขึ้นหลังการตายของคนใกล้ชิดนานเป็นปี อย่างไรก็ตาม เพื่อนๆ และผู้คุ้นเคย (Acquaintances) ที่เปลี่ยนแปลงไปภายหลังการตายของคนใกล้ชิด อาจสร้างปัญหาได้อีกด้วย
นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า หลังการตายของคนใกล้ชิด ผู้เป็นหม้ายที่ยิ่งมีเครือข่ายสังคม (Social network) เปลี่ยนแปลงไปมาก ยิ่งสร้างความเสียหายมากต่อสุขภาพจิต นักวิจัยยังพบอีกว่า ในผู้ใหญ่สูงวัยชาวจีน ภาวะเป็นหม้าย (Widowhood) มีความสัมพันธ์กับความน่าจะเป็นที่เพิ่มขึ้นกับการย้ายเข้ามาอยู่ร่วมชายคา (Co-residency) เดียวกับลูกที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว
งานวิจัยสรุปว่า การอยู่ร่วมชายคาดังกล่าวช่วยบรรเทา (Blunt) ผลกระทบในเชิงลบของทั้งภาวะเป็นหม้ายกับการเสื่อมถอยในสุขภาพในผู้สูงวัย อย่างไรก็ตาม การอยู่ร่วมชายคาเดียวกับลูกที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว หรือต้องพึ่งพาลูกหลานมากขึ้น ก็อาจเต็มไปด้วย (Fraught with) ปัญหา ที่ต้องรักษาการควบคุมกฎเกณฑ์ของปฏิสัมพันธ์ (Inter-action) ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง (Friction) ที่รุนแรงระหว่างสมาชิกในครอบครัว
นักวิจัยถกเถียงว่า ผู้ชายสามารถปรับตัวหลังการตายของคนใกล้ชิดได้มากกว่าผู้หญิง อาจเป็นเพราะในบทบาทตามประเพณี สถานะของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วถูกกำหนด (Determined) โดยสามี ในขณะที่สถานะที่กลับกัน (Reverse) มักไม่ค่อยพบเห็น พ่อหม้ายก็ยังมีแนวโน้มที่มั่นคงกว่าทางการเงิน (Financially secure) และมีโอกาสสูงกว่าที่หาคู่ชีวิตใหม่
อย่างไรก็ตาม การศึกษาอื่นได้พบความขัดแย้งกับความคิดเห็นนี้ อาจเป็นเพราะผู้ชายไม่สมควร (Inept) ที่จะดูแลตนเอง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิง และภาวะเป็นหม้าย มักเป็นประสบการณ์หลักของผู้หญิง [เพราะมีอายุคาดที่ยืนยาวกว่า] นักวิจัยยังพบว่า ผู้ชายรู้สึกซึมเศร้ามากกว่าผู้หญิงภายหลังการตายของคนใกล้ชิด ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ชายมีการซึมเศร้าที่น้อยกว่า แล้วค่อยๆ ทวีขึ้นจนถึงระดับเดียวกับ (Par with) ผู้หญิง
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Widowhttps://en.wikipedia.org/wiki/Widow[2020, November 24].