จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 292 : ภาวะเป็นหม้าย (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-292

      

ภาวะเป็นหม้าย (Widowhood) หมายถึงช่วงเวลาของชีวิต หลังการสูญเสียคู่ชีวิต ซึ่งใช้กับผู้ชายพอๆ กับผู้หญิง แต่ในทางปฏิบัติมักเป็นประสบการณ์ของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะอายุคาดของชีวิต (Life expectancy) ที่แตกต่างกันของ 2 เพศนี้ เป็นที่รับรู้กันว่า ในคนส่วนมาก ภาวะเป็นหม้ายเป็นปัจจัยสำคัญของการเสื่อมถอยของสุขภาพกายและจิต และการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยง (Vulnerability)

พึงสังเกตด้วยว่ามีแนวโน้มสูงของผลกระทบจากรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort effects) สำหรับชั่วอายุคน (Generation) สูงวัยในปัจจุบัน ในหลากหลายกรณี (Instance) ภาวะเป็นหม้าย มาพร้อมกับประสบการณ์ที่ต้องอยู่ตามลำพัง เนื่องจากผู้คนไม่น้อยเคลื่อนย้ายโดยตรงจากบ้านพ่อแม่ไปยังบ้านของตนเองหลังแต่งงาน (Marital home) โดยปราศจากช่วงเวลาที่เป็นอิสระ

ขอบเขต (Degree) ที่ภาวะเป็นหม้ายมีผลกระทบต่อชีวิตแต่ละบุคคล ซึ่งได้รับการหล่อหลอม (Shape) โดยหลากหลายปัจจัย ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า การสูญเสียคู่ชีวิตจะสร้างความเครียด (Stress) น้อยกว่า หากผู้ตาย (Deceased) เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเวลาสักช่วงหนึ่ง [แทนที่จะตายกะทันหัน]

และยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าผู้ใหญ่สูงวัยมีแนวโน้มที่จะมีปฏิกิริยาอ่อน (Mild reaction) เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่เยาว์วัย เนื่องจากผู้สูงวัยมีความพร้อมมากกว่าที่จะยอมรับการตายของคู่ชีวิตและอาจประสบช่วงเวลาของความเศร้าโศกที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า (Anticipatory grief) ก่อนการสูญเสียคู่ชีวิตจริง

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยอีกคนหนึ่งพบข้อขัดแย้ง (Contradict) โดยในการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) เขาพบว่า ขอบเขตการตายที่คาดหวัง ไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อบางปัจจัย อาทิ ความเศร้าโศก หรือการซึมเศร้า (Depression) การตายอย่างกะทันหัน เพิ่มความรู้สึกของการโหยหา (Yearning) ในผู้หญิงที่มีการตายของคนใกล้ชิด (Bereavement) แต่ความรู้สึกดังกล่าวในผู้ชายที่มีการตายของคนใกล้ชิด จะลดน้อยถอยลง

การค้นพบที่ขัดแย้งกันนี้ อาจขึ้นอยู่กับความอ่อนไหว (Sensitivity) ของมาตรวัด (Measure) ที่ใช้ และช่วงอายุ (Age spread) ของผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) พึงสังเกตด้วยว่า แม้ในบั้นปลายของชีวิต การตายอาจยังเป็นสิ่งที่มิได้คาดหมาย โดยที่ประมาณ 23% ของผู้ตอบแบบสอบถาม (Respondent) ในการศึกษาครั้งหนึ่ง ระบุว่า การตายของคนที่เขารัก เป็นสิ่งที่มิได้คาดคิดมาก่อนอย่างสุดขั้ว (Extremely unexpected)

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยสังเกตว่า การตายที่มิได้คาดหมายอาจเป็นผลมาจากการบอกกล่าวที่ไม่เพียงพอ (Insufficient briefing) จากญาติของผู้ตาย หากมีการดูแลอย่างใกล้ชิดและบอกกล่าวด้วยความรู้สึกอ่อนไหว [ล่วงหน้า] การตายของคนใกล้ชิด จะช่วยหลีกเลี่ยงความเครียดได้ โดยมีประจักษ์หลักฐานในเรื่องนี้อย่างมากมาย (Ample evidence)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Widowhttps://en.wikipedia.org/wiki/Widow[2020, November 17].