จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 291 : การตายของคนใกล้ชิดในต่างวัฒนธรรม (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-291

      

แม้ว่าวัฒนธรรมจะแตกต่างกันในบางแนวความคิดของการตายของคนใกล้ชิด (Bereavement) แต่ก็มีความเหมือนในแนวความคิดอื่น ความแตกต่างไม่น้อยของลักษณะการแสดงออก (Manner of expression) ด้วยความรู้สึกที่แท้จริง (Underlying) นั้น มีความเหมือนกัน (Identical)

ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมที่แตกต่างกันยอมรับเสื้อผ้าสีดำ, สีขาว, หรือสีแดง เป็นสัญลักษณ์ของการไว้ทุกข์ แต่ในทุกกรณี มีแรงจูงใจขั้นพื้นฐานเดียวกัน (Basic motivation) กล่าวคือสวมใส่เสื้อผ้าชนิดพิเศษเพื่อแสดง (Signify) สภาวะเฉพาะ อันนำไปสู่การถกเถียงของนักวิจัยที่ว่า แม้จะมีหนทางมากมาย (Myriad) ของการแสดงออกถึงการตายของคนใกล้ชิด แต่ทุกการแสดงออกตั้งอยู่บนพื้นฐานของนานาความเชื่อและทัศนคติที่เหมือนกันหมด (Universal)

ในทุกวัฒนธรรม ความเศร้าโศกมีทางแก้ไข (Resolve) โดยตัวมันเอง อย่างไรก็ตาม สัดส่วนจำนวนน้อยของกรณี (Instance) การตายของคนใกล้ชิดดำเนินไปอย่างมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงลบ (Adverse reaction) และคงอยู่ (Persist) หลังจากการสิ้นสุดของสิ่งที่ถือว่า (Considered) เป็นช่วงเวลาไว้ทุกข์ (Mourning) ที่เหมาะสม

แพทย์มักจัดกรณีเช่นนั้นเป็นประเภทแบบอย่าง (Typically categorized) อาทิ อาการซึมเศร้า (Depression) แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีความพยายามที่จะแยกยะสภาวะใหม่ เรียกว่า ความเศร้าโศกผิดปรกติที่ยาวนาน (Prolonged grief disorder : PGD) กลุ่มอาการสำคัญ (Cardinal) ของ PGD ได้แก่ ความผิดปรกติของการโหยหาที่ยาวนาน (Atypically prolonged yearning) ซึ่งจะได้ไปรวมตัวกันใหม่ (Re-unite) กับคนใกล้ชิดที่ตายไปแล้ว (Deceased) รวมทั้งความบ่อยถี่ และ/หรือ กลุ่มอาการด้อยความสามารถในการตายของคนใกล้ชิด

นอกจากนี้ กลุ่มอาการดังกล่าวมักปรากฏเป็นเวลา 6 เดือน หรือยาวนานกว่านั้น นักวิจัยถกเถียงว่า PGD มี ความสัมพันธ์ของช่วง (Range) ปัจจัยเสี่ยง อันได้แก่ การถูกทารุณกรรมโดยพ่อแม่ (Parental abuse), การไม่เตรียมความพร้อมสำหรับการตาย, และประวัติของความวิตกกังวลที่ต้องแยกจากพ่อแม่ตั้งวัยเด็ก (Childhood separation anxiety)

PGD อาจเกิดขึ้น ณ อายุใดก็ได้ แต่มีความน่าจะเป็น (Probabilistic) สูงที่จะกระทบผู้ใหญ่สูงวัย ซึ่งมีแนวโน้มสูงเช่นกันที่จะต้องรับแบกภาระเกิน (Overload) จากทุกข์ทรมานจากการตายของคนใกล้ชิด นี่เป็นเงื่อนไขของการไม่สามารถรับมือกับ (Cope with) กระบวนการเศร้าโศก (Grieving process) อันเป็นผลจากประสบการณ์ต่อเนื่อง (Succession) จากการตายของคนใกล้ชิดในช่วงเวลา (Space of time) ที่สั้นเกินไป เนื่องจากผู้ใหญ่สูงวัย [ในบริบททางสถิติ (Statistical terms)] มีแนวโน้มที่จะตายภายในช่วงเวลาเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่เยาว์วัย สิ่งที่ตามมาก็คือผู้สูงวัยมีความน่าจะเป็นที่จะประสบการตายของคนใกล้ชิดหลายครั้ง (Multiple bereavement) อาทิ จากเพื่อนๆ ชั้นเดียวกันที่อายุไล่เลี่ยกัน

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Sociocultural Influences of Bereavement https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK217844/[2020, November 10]