จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 287 มรณกรรม (3)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 14 ตุลาคม 2563
- Tweet
นอกจากนี้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า นิยามของสมองตาย (Brain death) มีประโยชน์ที่ทำให้ผู้ตายที่ยังมีชีวิตมีเวลาเพียงพอสำหรับอวัยวะถูกแยกชิ้นส่วน (Extract) ออกมาเพื่อบริจาคแก่ผู้ป่วยที่มีชีวิตอยู่และจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนอวัยวะ (Transplant) แต่ก็ยังมีข้อถกเถียงกันว่า ในการเปลี่ยนอวัยวะนี้เป็นประโยชน์แก่ผู้รับบริจาค (Recipient) ก็จริง แต่อาจไม่ยุติธรรมต่อผู้ให้บริจาค ซึ่งต้องถูกฆ่าให้ตายจากการแยกชิ้นส่วนออกมา
ประเด็นนี้ในเบื้องต้นดูเหมือนจะเป็นเรื่องของจริยธรรมทางการแพทย์ (Medical ethics) แต่ก็มีผลตามมาทางจิตใจ (Psychological sequence) ต่อครอบครัวของผู้ป่วยที่กำลังตาย ณ จุดใดและโดยใครที่ควรจะตัดสินใจให้ยุติการรองรับสนับสนุนเทียม (Artificial support) แล้วยอมให้การตายทางร่างกายเกิดขึ้น?
ประเด็นนี้ค่อนข้างอ่อนไหว (Emotive) แม้ในวัฒนธรรมเดียวกัน ก็อาจไม่มีความเห็นเดียวที่สอดคล้องกัน (Single consensus) นอกจากนี้ ความขัดแย้ง (Conflict) ระหว่างสมาชิกของครอบครัวถึงการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่กำลังตาย ก็มีหลากหลายมิติ (Multi-faceted) และผลลัพธ์ (Outcome) ของความขัดแย้งนั้น ก็ยากต่อการพยากรณ์
ปัญหายิ่งซับซ้อน (Complicated) ขึ้นไปอีก เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม นักวิจัยได้ทบทวนความคิดเห็นของผู้คนจากชาวอเมริกันชนหมู่น้อย (Ethnics) เชื้อสายอัฟริกัน, แมกซิกัน, จีน, ยิว (Jewish), อิหร่าน, ฟิลิปปินส์, และเกาหลี ผ่านบทความสั้น (Vignettes) เกี่ยวกับผู้ป่วยที่กำลังตาย ว่าควรจะยุติ (Terminate) การฟื้นคืนชีพ (Life support) อย่างไร
การตัดสินใจมีอยู่ 2 ข้อ ข้อแรกควรจะเริ่มให้การฟื้นคืนชีพหรือไม่? และข้อ 2 ควรจะยุติการฟื้นคืนชีพหรือไม่ เมื่อเห็นชัดเจนแล้วว่า ไม่มีความหวังว่าจะฟื้นคืนชีพได้เลย? ในงานวิจัยนี้ ชาวอเมริกันผิวขาวเป็นกลุ่มควบคุม ส่วนผู้เข้าร่วมวิจัยเชื้อสายยิว มักต่อต้านการริเริ่ม (Initiate) การฟื้นคืนชีพ และสนับสนุน (In favor of) การยุติมัน
แต่ในกลุ่มอื่น พฤติกรรมกลับกัน (Reverse) โดยเฉพาะเชื้อสายฟิลิปปินส์ อิหร่าน และเกาหลี ส่วนกลุ่มที่เหลือยังก้ำกึ่ง (Equivocal) นักวิจัยถกเถียงว่า เหตุผลของความแตกต่างอาจมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาสนา โดยที่บางศาสนามีการระบุไว้ชัดเจนว่า ต้องพยุง (Preserve) ชีวิตไว้ และ/หรือ ควรจะยอมให้ทนทุกข์ทรมานเมื่อเผชิญกับการตายบางประเภท
อย่างไรก็ตาม อาจเป็นเพราะเหตุผลทางวัฒนธรรม นักวิจัยสังเกตว่า ชาวคริสต์และชาวมุสลิม ในกลุ่มเชื้อสายอิหร่านสนองตอบคล้ายคลึงกัน จึงเป็นการง่ายที่จะมองข้ามความจริงที่ว่า ภายในกลุ่มวัฒนธรรมเฉพาะ มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลเป็นอย่างมาก (Considerable)
ตัวอย่างเช่น ภายในกลุ่มชนที่ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องกัน (Homogeneous) ระดับของจิตวิญญาณ (Spiritual) แตกต่างกันอย่างมาก (Drastically) และต้องคำนึงถึง เพื่อให้ได้ประสิทธิผล (Effective) ในการดูแลและพยาบาลผู้ป่วยที่กำลังจะตาย
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Deathhttps://en.wikipedia.org/wiki/Death[2020, October 6].