จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 285: มรณกรรม (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 30 กันยายน 2563
- Tweet
แนวความคิดที่ว่าอะไรประกอบขึ้น (Constitute) เป็นมรณกรรม (Death) แตกต่างกันตามยุคสมัย (Time) และตามวัฒนธรรม ในหลายวัฒนธรรมทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้มีการถกเถียงกันว่า การหมดสติลึกๆ (Deep unconsciousness) ประกอบขึ้นเป็นการตาย ดังตัวอย่างของชาววะนาติไน (Inhabitants of Vanatinai) ในปาปัวนิกินี (Papua New Guinea)
ในวัฒนธรรมดังกล่าว ผู้คนเชื่อว่าการหมดสติคือการตาย แต่บางคนสามารถฟื้นคืนชีพ (Back to life) ได้ในหลากหลายโอกาส (Multiple occasion) ในอดีตมีนิทาน (Tale) จำนวนไม่น้อยของผู้คนที่ฟื้นจากการตายตามเกณฑ์ของยุคสมัยนั้น แต่ที่จริงแล้ว อาจเป็นกรณีที่ตื่นจากอาการสาหัสหรือโคม่า (Coma) โดยมาตรฐานของการแพทย์สมัยใหม่
ในสังคมอุตสาหกรรม ภาพยนตร์, ละคร, และหนังสือ อาจสร้างความเข้าใจ (Impression) ว่าการตายในปัจจุบันแสดงออกโดยการหยุดเต้นของหัวใจ (Cessation of heart beat) และการหายใจ ดังนั้นการปราศจากชีพจร (Pulse) แสดงว่าคนได้ตายแล้ว อันที่จริง นิยามเช่นนั้นก็เพียงพอสำหรับเจ้าหน้าที่การแพทย์ (Medical authorities) ส่วนใหญ่ จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20
อย่างไรก็ตาม มีเหตุผลที่จะปฏิเสธนิยามเหล่านี้ ประการแรกวิธีวินิจฉัย (Diagnostic method) นี้ เชื่อถือไม่ได้ (Unreliable) ชีพจรเต้นช้ามาก (Very faint) หรือการหายใจที่ตื้นสุดขั้ว (Extremely shallow) อาจจะยากต่อการค้นพบ (Detect) ส่งผลให้คนที่ควรจะ (Supposedly) ตายแล้วยังคงมีชีวิตอยู่ (Alive)
ผลที่สุดของการตาย (Macabre upshot) นี้ก็คือ คนที่อยู่ในภาวะ (State) นี้อาจถูกฝังทั้งเป็นในทางทฤษฎี และผู้คนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้ยึดติด (Obsessed) กับความคิดนี้ หลังจากได้ติดตามหลายกรณีที่มีการตีพิมพ์แพร่หลาย (Well-published) ณ ที่มีการขุดค้นเครื่องหมาย (Scratched marks) รวมทั้งที่พบเห็นภายใน (Interior) ของโลงศพ (Coffin)
ดังนั้น ในการค้าขายที่เกี่ยวกับงานศพ (Funeral trade) ในอดีต มีการเสนอโลงศพที่ติดตั้งกระดิ่งที่มีสายดึง (Pull chain) ถ้าคนตาย (Deceased) ฟื้นขึ้นมาแล้วพบว่าตัวเองถูกฝังกลบไปแล้ว [ก็หวังว่า] จะสามารถเรียกร้องความช่วยเหลือ แต่อาจจะยากที่จะพบกรณีที่คนที่ถูกฝังทั้งเป็น แล้วไม่สามารถอธิบายโดยวิธีการดังกล่าวที่จืดชืดหรือน่าเบื่อ (Prosaic)
สาเหตุประการที่ 2 สำหรับการปฏิเสธการวินิจฉัยปอด-หัวใจ (Cardio-pulmonary diagnosis) ก็คือ ด้วยเครื่องมือแพทย์ทันสมัย ผู้คนอาจได้รับการฟื้นคืนชีพ (Resuscitated) โดยวิธีการช็อกด้วยไฟฟ้า (Electric shock) ซึ่งมักเรียกว่า การตายทางการแพทย์ (Clinical death) ณ จุดนี้ แม้ว่าจะไม่มีการปั๊มหัวใจ และปอดมิได้หายใจ แต่เซลล์ในร่างกายยังคงมีชีวิตอยู่
ถ้าหัวใจได้รับการเริ่มต้นใหม่ [ด้วยการปั๊ม] ภายในเวลาประมาณ 3 นาที ชีวิตก็จะดำเนินต่อไปได้ ดังนั้นการที่ชีพจรหยุดเต้นภายในโรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์พร้อมทีมงานฟื้นคืนชีพ ก็ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะเกิดการตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นแพทย์จึงเริ่มถกเถียงว่า นิยามการตายการคือการตายของสมอง (Brain death)
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Deathhttps://en.wikipedia.org/wiki/Death[2020, September 29].