จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 283: เส้นทางดูแลลิเว่อร์พูล (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 16 กันยายน 2563
- Tweet
เส้นทางดูแลลิเว่อร์พูล (Liverpool Care Pathway : LCP) ดูเหมือนจะได้ประสิทธิผลในบางเกณฑ์ (Criteria) ตัวอย่างเช่น งานวิจัยแสดงว่า การตายของคนใกล้ชิด (Bereavement) ซึ่งตายไปก่อนหน้านี้ ภายใต้ระบบ LCP จะทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ (Distress) น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ LCP ยังแสดงให้เห็นว่า ระบบได้ช่วยลดภาระอาการ (Symptom burden) [ตราบเท่าที่กลุ่มอาการมีผลกระทบเชิงลบต่อคุณภาพชีวิต (Quality of Life : QOL] และนำไปสู่การบันทึกการดูแลอย่างครอบคลุม (Comprehensive documentation of care)
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นหัวข้อที่ค่อนข้างอ่อนไหว (Emotive subject) และ LCP ได้ดึงออกมา (Elicit) ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกของปฏิกิริยาต่อต้าน (Reaction) จากนักวิชาการ (Academics) และแพทย์ (Clinicians) ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง (Eminent) ส่งผลให้เกิดคลื่นความไม่พอใจ (Discontent wave) ในเรื่องการปฏิเสธ (Denial) สารอาหารแก่ผู้ป่วย และการให้สารกดประสาท (Sedation) อย่างต่อเนื่องในระยะสุดท้าย ฯลฯ จนผู้ป่วยถึงแก่ความตาย
LCP ไม่คำนึงถึงความจริงที่ว่า อาจมีการวินิจฉัยผิดพลาดได้ การศึกษาที่น่ารำคาญใจ (Disturbing) พบว่า 16.5% ของการตายมาจากการให้สารกดประสาทในระยะสุดท้าย โดยที่แพทย์ผู้มีประสบการณ์รู้ดีว่า บางครั้งเมื่อหยุดยาทุกอย่างแล้ว ผู้ที่กำลังจะตายกลับดีขึ้น [อย่างน่าอัศจรรย์]
ไม่น่าประหลาดใจเลยที่หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลพร้อมด้วยบทความที่จั่วหัวว่า “ถูกพิพากษาให้ตาย” (Sentenced to Death) ซึ่งสร้างภาพ (Image) ว่าบริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service : NHS) ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ สนับสนุนให้แพทย์สิ้นหวังในผู้ป่วยวัยชราใกล้ตาย โดยให้สารกดประสาทอย่างต่อเนื่องจนถึงตาย
มีการกล่าวหา (Allegation) อย่างรุนแรงในเรื่องนี้ เมื่อเปรียบเทียบการบรรเทาความทุกข์ทรมานกับการเร่งให้ผู้ป่วยตาย โดยเฉพาะบางคนที่สามารถฟื้นฟูได้หากได้รับการรักษาด้วยวิธีการที่แตกต่าง
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะตำหนิ LCP ในเรื่องการเร่งให้หายในผู้สูงวัยในสหราชอาณาจักรอังกฤษ ต้องเข้าใจว่า LCP มิได้ใช้กับผู้ป่วยทุกคนอย่างอัตโนมัติ โดยมิได้การคำนึง (Consideration) ถึงความจำเป็นทางจิต (Psychological) และวิญญาณ (Spiritual) ของผู้ป่วยและครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญ (Prime)
นอกจากนี้ LCP มิได้ใช้กับกรณีส่วนมาก (Majority) ซึ่งมีการกะประมาณว่า เพียง 1 ใน 4 (Quarter) ของการดูแลสุขภาพในสถานพยาบาลเท่านั้นที่ใช้ LCP ในปี ค.ศ. 2010 ดังนั้น จึงเป็นการยากที่จะสรุปว่า 16.5% ของการใช้สารกดประสาทในระยะสุดท้าย เกิดจาก (Attribute) LCP
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Liverpool Care Pathway for the Dying Patient - https://en.wikipedia.org/wiki/Liverpool_Care_Pathway_for_the_Dying_Patient[2020, September 15].
- Palliative care - https://en.wikipedia.org/wiki/Palliative_care[2020, September 15].