จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 282: เส้นทางดูแลลิเว่อร์พูล (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-282

      

คำว่า “ดูแลแบบบรรเทาอาการ” (Palliative care) ฟังดูเหมือนมีมนุษยธรรม (Humane) แต่ก็มักมีความสงสัยอย่างถากถาง (Nagging doubt) ว่า เป็นการยอมแพ้ (Give-in) และไม่เป็นที่ประหลาดใจเลยว่า ผู้ป่วยบางคนต้องการการรักษาพยาบาลเชิงรุก (Aggressive treatment) มากกว่า ตราบเท่าที่จะเป็นไปได้

เหตุผลอื่นของการมีรายการข้อแม้ (Caveat) ที่ยืดยาว ในนิยามขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ก็คือการตอกย้ำว่า การดูแลแบบบรรเทาอาการมิใช่อีกชื่อหนึ่งของการฆ่าให้ตายอย่างสงบ (Euthanasia) การดูแลแบบนี้บางครั้งอาจทำให้ชีวิตสั้นลง

ตัวอย่างเช่น ยาแก้ปวดที่ทำจากฝิ่น (Opioid painkiller) ซึ่งมักเป็นยาแก้ปวดที่ได้ผล (Viable analgesia) แต่มีผลข้างเคียง (Side effect) ที่ไปขัดขวาง (Suppress) การหายใจ จึงมีเส้นแบ่งเพียงบางๆ ระหว่างความรู้สึกเจ็บปวดมึนงง (Numbing) ที่ไปเป็นอุสรรค (Restrict) ต่อการหายใจ เหมือนกับอาการอื่นที่สัมพันธ์กับสภาวะกระสับกระส่ายเกินไป (Excessive restless)

อย่างไรก็ตาม ถ้าทางเลือกเป็นความเจ็บปวดที่ทนไม่ไหว (Unbearable) ก็ต้องเป็นการตัดสินใจของแต่ละบุคคล พูดอย่างดันทุรัง (Perversely) ก็คือ สิ่งที่อยู่ตรงข้าม (Opposite) การดูแลแบบบรรเทาอาการ กล่าวคือ แทนที่จะเร่ง (Hasten) การตาย ก็จะชะลอการตายลง

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ หมายความว่า ผู้ป่วยที่กำลังตายอาจยืดชีวิต (Prolong) ให้อยู่ยาวนานกว่าที่เคยเป็นไปได้ แต่การยืดอายุนั้น แท้จริงแล้วให้ประโยชน์แก่ใครบ้าง? ยกเว้นกรณีที่การควบคุมความเจ็บปวดได้รับการจัดการอย่างดีเยี่ยม เวลานี้อาจเป็นช่วงของการทนทุกข์ทรมานมาก

และแม้ว่าจะควบคุมความเจ็บปวดได้ ผู้ป่วยอาจทุพพลภาพ (Incapacitated) และรู้สึกว่าตนพึ่งพาผู้อื่นจนเกินไป (Overly reliant) ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนมหาศาล (Huge) หากความเจ็บป่วยขยายออก (Protract) โดยปราศจากความหวังที่ห่างไกลมาก (Remotest hope) ของการฟื้นฟู (Recovery)

นี่เป็นภาระของผู้เสียภาษีอากรในประเทศที่ใช้เงินภาษีประชาชนในการจุนเจือ (Fund) บริการสุขภาพ และเป็นภาระส่วนบุคคลในประเทศที่มีบริการสุขภาพของเอกชน ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ การดูแลแบบบรรเทาอาการในหลายกรณีได้รับการจัดแจงอย่างเป็นทางการ (Formalized) เรียกว่า “เส้นทางดูแลลิเว่อร์พูล” (Liverpool Care Pathway : LCP)

LCP เป็นชื่อที่ตั้งตามเมืองลิเว่อร์พูลที่มีการนำแนวทางปฏิบัติ (Procedure) นี้ ไปดำเนินการเป็นครั้งแรก โดยที่ในระยะสุดท้าย (Terminal) ของชีวิต LCP สนับสนุนอย่างจริงจัง (Advocate) ด้วยการบรรเทา (Relief) ความเจ็บปวด, การหยุดยาปฏิชีวนะ (Anti-biotics), การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ (Intra-venous fluid) เป็นต้น [เพื่อให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายเร็วขึ้น]

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Liverpool Care Pathway for the Dying Patient - https://en.wikipedia.org/wiki/Liverpool_Care_Pathway_for_the_Dying_Patient[2020, September 8].
  3. Palliative care - https://en.wikipedia.org/wiki/Palliative_care[2020, September 8].