จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 280: การดูแลแบบบรรเทาอาการ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-280

      

การดูแลแบบบรรเทาอาการ (Palliative care) อาจเป็นทางเลือก (Option) เดียวในทางการแพทย์ หลังจากการรักษาพยาบาล (Treatment) ล้มเหลว สิ่งที่ผู้ดูแลสุขภาพจะทำได้มีเพียงทำให้แน่ใจว่าผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ฟังดูแล้วค่อนข้างจะตรงไปตรงมา (Straightforward) แต่แท้จริงแล้วแบกภาระ (Laden) ด้วยนานาปัญหา

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) จึงได้นิยามการดูแลดังกล่าวไว้ยาวเหยียดดังนี้ การดูแลแบบบรรเทา –

  • บรรเทา (Relief) การเจ็บปวด และกลุ่มอาการทุกข์ใจ (Distress)
  • ยืนยัน (Affirm) ว่าการตายของชีวิต เป็นกระบวนการปรกติ
  • ตั้งใจ (Intend) ที่จะไม่เร่ง (Hasten) หรือเลื่อน (Postpone) การตาย
  • บูรณาการ (Integrate) การดูแลผู้ป่วยในแง่ (Aspect) ของทางจิตวิทยา (Psychological) และวิญญาณ (Spiritual)
  • เสนอระบบสนับสนุน (Support) ที่จะช่วยผู้ป่วยให้อยู่อย่างกระฉับกระเฉง (Active) จนตาย
  • เสนอระบบสนับสนุนครอบครัวผู้ป่วยรับมือ (Cope) กับการตายของคนใกล้ชิด (Bereavement) ระหว่างเจ็บป่วย
  • ใช้วิธีการทำงานเป็นทีมในการสนองตอบความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งการแนะนำ (Counselling) การตาย ถ้าผู้ป่วยต้องการ
  • เพิ่มพูน (Enhance) คุณภาพของชีวิต และอาจมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อการรักษาพยาบาล (Course of illness) ผู้ป่วย
  • ประยุกต์ใช้แต่เนิ่นๆ ของการรักษาพยาบาล ร่วมกับการบำบัด (Therapy) ที่หวังยืดอายุ (Prolong) ชีวิต อาทิ เคมีบำบัด (Chemo-therapy) หรือรังสีบำบัด (Radiation therapy) และรวมทั้งการสืบค้น (Investigation) ที่จำเป็นต่อการเข้าใจและการจัดการกับโรคแทรกซ้อน (Complications)

ทำไมการดูแลแบบบรรเทาจึงต้องมีนิยามที่ยืดยาว? ทำไมจึงต้องเน้นย้ำ (Stress) หลายแง่มุมของชีวิตผู้ป่วยและครอบครัว? และทำไมจึงไม่พิจารณาเพียงสุขภาพของผู้ป่วย? คำตอบบางส่วนเกิดจากความคิดเห็น (Opinion) ทางการแพทย์

ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960s การแพทย์เน้นหนักที่การรักษาโรค มากกว่าบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ดังนั้น การค้นหาสาเหตุของการเจ็บป่วยแทนที่จะรักษาอาการ จึงเป็นแนวทางปฏิบัติ ซึ่งมิใช่บรรยากาศทางปัญญา (Intellectual atmosphere) ที่เอื้ออำนวย (Conducive) ต่อการดูแลแบบบรรเทาอาการ

อย่างไรก็ตาม ทัศนคติค่อยๆ เปลี่ยนไป ผลงานแนวหน้า (Spearhead) ของ เดม เซซิลี่ ซอนเดอร์ส (Dame Cecily Saunders) ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ ได้นำไปสู่การยอมรับอย่างกว้างขวาง (Widespread adoption) ของการเคลื่อนไหวของบ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Hospice movement)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Death - https://en.wikipedia.org/wiki/Death[2020, August 25].
  3. Palliative care - https://en.wikipedia.org/wiki/Palliative_care[2020, August 25].