จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 279: การดูแลแบบบรรเทาอาการ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-279

      

ถ้าผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตาม (Conform) มาตรฐานรูปแบบการเปลี่ยนแปลง (Pattern of change) ของจิตแพทย์อลิซาเบ็ธ คูเบลอร์-รอส (Elizabeth Kubler-Ross) โดยมิได้สิ้นสุดชีวิตในสภาวะความสงบ (State of calm) ในการถอนตัวทางปรัชญา (Philosophical resignation) เขาปฏิเสธที่จะถูกควบคุม และจะถูกระบุ (Labelled) ว่า ไม่ให้ความร่วมมือ (Un-cooperative)

นักวิจัยถกเถียงในมิติของสังคมวิทยาว่า เหตุการณ์เช่นนี้เป็นการเบี่ยงเบน (Deviance) ของผู้ป่วยที่จะไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ (Norm) ที่นักวิชาชีพดูแลสุขภาพ (Health-care professional) คาดหวัง ทางเลือก (Alternatively) ก็คือผู้ป่วยที่กำลังตายอาจถูกปฏิเสธความปรารถนา (Wish) ที่จะแสดงออก (Expression) ซึ่งความผิดหวัง (Frustration) และความเศร้าโศก (Sadness)

เนื่องจากเขาถูกบังคับ (Coerced) ให้มีความเบิกบาน (Cheerful) ในพฤติกรรม จึงมีคำถามว่า เป็นความยุติธรรมแล้วหรือที่บุคคลสมควรตายโดยปราศจากโอกาสแสดงออก (Air) ซึ่งความกังวลหรือความขัดข้องใจ (Grievance) ที่ระงับไว้นาน (Long-held worry)? และเขาควรจะได้รับโอกาส “ยกภูเขา ออกจากอก” (Get it off the chest) มิใช่หรือ?

คำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ อาจถูกตั้งคำถามบนพื้นฐานที่ปฏิบัติได้ (Pragmatic ground) ซึ่งเป็นข้อสมมุติฐานที่นักวิชาชีพดูแลสุขภาพจำนวนมาก (High proportion) ปฏิบัติตามเยี่ยงทาส (Slavishly) ตามผลวิจัยของคูเบลอร์-รอส จนถึงจุดที่ควบคุมอย่างเข้มงวด (Suppressive control) ถ้าผู้ที่กำลังจะตายกล้าที่ออกนอกลู่นอกทาง (Step out of line)

เหตุการณ์เช่นนี้ดูเหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้ (Improbable) อย่างน้อยก็ไม่เพียงเพราะมีอ่าวขนาดใหญ่ (Considerable gulf) ขวางกั้นระหว่างนโยบายของเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพ ณ บั้นปลายของชีวิตกับการลงมือปฏิบัติ (Implementation) แต่เป็นเพราะจะต้องมีการแบ่งเส้นอย่างยุติธรรม (Equally) ระหว่างผู้ดูแลสุขภาพที่ต้องการให้ผู้ที่กำลังจะตายพึงพอใจ (Content) กับการระงับความปรารถนาของผู้ที่กำลังจะตายเพื่อให้ดูเหมือนว่า เขาพอใจ

การปฏิเสธ (Rejection) ผลวิจัยของคูเบลอร์-รอส อาจทิ้งความรู้สึกทอดอาลัยว่าไม่มีอะไรที่ดูเหมือนจะเป็นที่พอใจจากงานวิจัย อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีการอื่นที่ปฏิบัติได้ ในการศึกษาเรื่องการตาย หนทางหนึ่งคือข้อโต้แย้งว่า อะไรมีความสำคัญมากสุดก่อนเพื่อน (First and foremost) คงมิใช่ปรัชญายิ่งใหญ่ที่ครอบคลุมจิตวิญญาณ (Over-arching grand spiritual)

แต่เป็นการพิจารณา (Consideration) สิ่งที่ปฏิบัติได้ ซึ่งผู้ตายทนทุกข์ทรมานเพียงเล็กน้อย แต่มีศักดิ์ศรี (Dignity) มาก อันเป็น “หินหลัก” (Corner-stone) ของการดูแลแบบบรรเทาอาการ (Palliative care) ซึ่งเป็นการรักษาพยาบาลที่ได้รับการออกแบบ (Designed) ให้บรรเทาความอึดอัดใจ (Discomfort) มากกว่าการรักษาสาเหตุที่แท้จริง (Underlying cause) ของการเจ็บป่วย

ตัวอย่างเช่น การกินยาแก้ปวด (Pain-killer) สำหรับผู้ที่เจ็บฟัน (Tooth-ache) ช่วยบรรเทาความปวด แต่มิได้รักษาสาเหตุของการเจ็บฟัน การเจ็บป่วยที่ร้ายแรง (Fatal) หลายๆ กรณี รักษาให้หายไม่ได้ (Incurable) ต้องอาศัยการดูแลแบบบรรเทาอาการ

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Death - https://en.wikipedia.org/wiki/Death[2020, August 18].
  3. Palliative care - https://en.wikipedia.org/wiki/Palliative_care[2020, August 18].