จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 278: แบบจำลองของการตาย (3)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 12 สิงหาคม 2563
- Tweet
อาจโต้แย้งได้ว่า ความง่าย (Simplicity) ของแบบจำลองเป็นจุดอ่อนโดยตัวมันเอง เนื่องจากการแปลผล (Interpretation) ของแบบจำลองยืนยันว่า บุคคลที่กำลังตายจะต้องผ่าน 5 ขั้นตอนของการปฏิเสธ, โกรธ, ต่อรอง, ซึมเศร้า, และยอมรับ ซึ่งแต่ละขั้นตอนเป็นบันไดขึ้นไป (Progress) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitably)
ดังนั้น ถ้าเราพบผู้ที่กำลังใกล้ตายในขั้นตอนปฏิเสธ เขาจะหลีกเลี่ยงการผ่านอีก 4 ขั้นตอนไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน (Similarly) ผู้ที่อยู่ในขั้นตอนต่อรองจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องผ่านขั้นตอนของการซึมเศร้า และการยอมรับในที่สุด
ในผลงานของอลิซาเบ็ธ คูเบลอร์-รอส (Elizabeth Kubler-Ross) เธอได้ตอกย้ำว่า ขั้นตอนทั้ง 5 เป็นเพียงแนวทาง (Guideline) เท่านั้น มันอาจไม่อยู่ยาวนานในทุกคน ผู้คนผ่านวงจร (Cycle) นี้หลายครั้ง หรือแสดงประจักษ์หลักฐานของการอยู่ในมากกกว่าหนึ่งขั้นตอนในเวลาเดียวกัน (Simultaneously)
เธอดูเหมือนจะพูดว่า คนที่กำลังตายอาจแสดงพฤติกรรมหลากหลาย และบางครั้งพฤติกรรมดังกล่าวดำเนินไปเป็นลำดับ (Sequence) อยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เธอก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า แบบจำลอง (Model) ของเธอเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างตายตัว (Invariant) เกินไป
แต่ถ้าไม่มีลำดับที่เชื่อถือได้ งาน¬ของคูเบลอร์-รอส ก็เป็นเพียงข้อสังเกตว่า ผู้ที่กำลังจะตายสามารถแสดงกลุ่มอาการของการปฏิเสธ, ความโกรธ, การต่อรอง, การซึมเศร้า, และการยอมรับ ซึ่งไม่ใช่สิ่งใหม่ เพราะนักวิจัยอื่นๆ ก็ได้ตั้งข้อสังเกตที่คล้ายคลึงกัน เช่นเดียวกับนักเขียนบทละคร (Playwright), กวี (Poet), และนักประพันธ์นวนิยาย (Novelist)
ไม่มีประจักษ์หลักฐานว่า คูเบลอร์-รอสได้ใช้วิธีการ (Approach) ที่เป็นระบบ (Systematic) และสอดคล้อง (Consistent) ในการรวบรวมข้อมูล ข้อถกเถียงของเธอตั้งอยู่บนพื้นฐานของบันทึกทางการแพทย์ (Clinical notes) เท่านั้น จึงเป็นการง่ายที่จะเข้าใจว่า ทำไมนักวิจัยและแพทย์จำนวนมาก (Considerably) จึงตั้งข้อสงสัย (Doubtful) ในแบบจำลองและข้อโต้แย้งของเธอ
อย่างไรก็ตาม คำวิพากษ์วิจารณ์ต่อผลงานของคูเบลอร์-รอสอย่างสุดขั้ว (Extremely critical) มีผลกระทบที่ปฏิเสธไม่ได้ในการเริ่มต้นของการศึกษาทางด้านวิชาการและทางการแพทย์ของการตาย ซึ่งไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ดี คูเบลอร์-รอสเองตอกย้ำถึง “การตายที่ดี” (Good death) ซึ่งดูอย่างผิวเผินแล้ว (Surface) เหมือนเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา
แต่หากเกินเลยเถิดไปก็อาจมีข้อบกพร่อง (Foul) ในสิ่งที่นักวิจัยอ้างถึง ว่าเป็นความคิด (Mentality) ของ “การตายอย่างมีความสุข” (Happy death) กล่าวคือความเชื่อที่ว่า การร้องเรียน (Complaint), การทอดอาลัย (Despair), และอารมณ์เชิงลบอื่นๆ ที่พบในผู้ที่กำลังจากตายจำนวนมาก อาจแก้ปัญหา (Resolve) ผ่านการอภิปรายและเจรจา แล้วควบคุมกระบวนการทั้งหมด (Whole process) ให้ได้สมบูรณ์
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Death - https://en.wikipedia.org/wiki/Death[2020, August 11].
- Kubler-Ross model - https://en.wikipedia.org/wiki/K%C3%BCbler-Ross_model[2020, August 11].