จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 276: แบบจำลองของการตาย (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 29 กรกฎาคม 2563
- Tweet
เราเข้าใจไม่มาก (Poorly understand) ถึงบทบาทของความแตกต่างในแต่ละบุคคลและวัฒนธรรม การปราศจากข้อมูลเหล่านี้ ทำให้เราไม่สามารถปรับแต่ง (Tailor) วิธีการที่เหมาะสม (Optimal approach) สำหรับแต่ละบุคคลได้
อีกทีมงานวิจัยหนึ่ง มีความคิดว่า จิตบำบัด (Psycho-therapy) ซึ่งกล่าวถึง (Address) การดูแลบั้นปลายของชีวิต ยังด้อยพัฒนา (Under-developed) อยู่ โดยสังเกตว่าแบบจำลอง (Model) ที่พัฒนาแล้วต้องมีความยืดหยุ่นมากกว่าปรกติ (Unusual degree of flexibility) เนื่องจากความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจมากขึ้นถึงแต่ละบุคคลและคนที่เขารักนั้น แตกต่างกันอย่างมากมาย (Vary enormously)
อย่างไรก็ตาม เรายังไม่มีกลุ่มแบบจำลอง (Set of models) ที่น่าพอใจโดยเฉพาะ (Particularly satisfactory) สำหรับการเลือกสรร ดังนั้นคำถามต่อไปก็น่าจะเป็น แล้วมีแบบจำลองของกระบวนการการตายหรือไม่? วรรณกรรมวิจัยในอดีตได้รับการครอบงำ (Dominated) โดยทฤษฎีหนึ่ง นั่นคือแบบจำลองของ 5 ขั้นตอนของการตาย (5-Stage of Dying Model)
ผู้คนไม่ค่อยจะประสบการตายอย่างกะทันหัน (Sudden death) กล่าวคือเกือบทุกคนรู้เมื่อเขากำลังตาย และมีเวลาสนองตอบต่อความรู้ (Knowledge) ดังกล่าวอย่างเต็มเวลา (Fraught time) ด้วยซ้ำ นักวิจัยจำนวนมากได้เขียนเรื่องราว (Text) หลากหลายในหัวข้อนี้ทั้งทางด้านจิตวิทยาและจิตเวช (Psychiatric)
ผลงานของอลิซาเบ็ธ คูเบลอร์-รอส (Elizabeth Kubler-Ross) ในเรื่องแบบจำลอง 5 ขั้นตอนของการตาย เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง จนทำให้เธอมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว เธอเป็นจิตแพทย์ที่ทำงานกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminally ill) แล้วสังเกตสิ่งที่เธอเชื่อว่าเป็นรูปแบบของพฤติกรรมที่คงเส้นคงวา (Consistent pattern)
ผู้ป่วยที่ได้ผ่านเหตุการณ์บาดเจ็บสาหัส (Traumatic) อาจพบว่า ขั้นตอนทั้ง 5 ของเธอ สะท้อน (Echo) ถึงการสนองตอบของมันเอง และคูเบลอร์-รอส ก็ได้โต้แย้งในเวลาต่อมาว่า วงจร (Cycle) ของมันอาจได้รับการกระตุ้น (Trigger) ไม่เพียงแต่โดยการตาย แต่ยังโดยเหตุการณ์ที่รุนแรง อาทิ การหย่าร้าง
ความคิดโดยทั่วไปของแบบจำลองอาจง่ายต่อความเข้าใจ เพียงใช้สามัญสำนึก (Intuitive) เท่านั้น และได้มีการกระจายความรู้ในแบบจำลองนี้ไปทั่วสหรัฐอเมริกา แต่อาจถกเถียงได้ว่า หนึ่งในดัชนีชี้วัด (Indicator) ที่ดีที่สุดของการตระหนักรู้ยอดนิยม (Popular awareness) ก็คือเมื่อมีบางอย่างที่ล้อเลียน (Parody) ในวัฒนธรรมกระแสหลัก
มีผู้นำขั้นตอนทั้ง 5 ของ คูเบลอร์-รอส ไปแสดงการปฏิบัติในมุมตลก (Comedic treatment) โดยมีตัวละคร (Character) ไต่บันได 5 ขั้นตอนอย่างรวดเร็ว เป็นแสดงทผ่านทั้งทางโทรทัศน์, หนังสือการ์ตูน, และสื่ออื่นๆ นับว่าการปัน (Share) ความรู้นี้ทำให้ผู้ชม/ผู้อ่านเข้าใจง่าย
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Death - https://en.wikipedia.org/wiki/Death[2020, July 28].
- Kubler-Ross model - https://en.wikipedia.org/wiki/K%C3%BCbler-Ross_model[2020, July 28].