จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 274 การรับรู้การตาย (4)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 15 กรกฎาคม 2563
- Tweet
ทฤษฎี “สุดยอดของชราภาพ” (Gero-transcendence) ของทอร์นสแตม (Tornstam) มีมุมมองในบริบท (Context) ของการเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการที่ใหญ่กว่าของการไหล [การเปลี่ยนแปลง] อย่างต่อเนื่อง (Constant flux) ในความก้าวหน้าของมนุษยชาติ
เมื่อเราเพ่งเล็ง (Center) ไปที่การตายเพียงอย่างเดียว (Sole) ของแต่ละบุคคล ก็จะรู้สึกน่าสะพรึงกลัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitably terrifying) แต่ถ้ามองการตายเป็นส่วนหนึ่งของภาพที่ใหญ่ขึ้น ก็จะมีความรู้สึกเช่นนั้นน้อยลง และความจริงก็คือ อาจเห็นเป็นส่วนจำเป็นของการดำรงอยู่ (Existence) อย่างต่อเนื่องของเรา
ผลงานของทอร์นสแตม ก็เช่นเดียวกับอริค อริคสัน (Erik Erikson) และนักจิตวิทยาอื่นๆ ที่ถกเถียงได้ว่า เป็นความพยายามที่จะสร้าง (Install) อย่างน้อยกรอบการทำงาน (Frame-work) ขั้นพื้นฐานของแบบจำลอง (Model) ที่ตระหนักถึงความตาย (Death awareness)
ลักษณะ (Tone) ของผลงานที่ดูประหนึ่งศาสนา (Quasi-religion) อาจยากต่อการเข้าใจของบางคน แต่ข้อถกเถียงในเรื่องนิยาม (Definition) คงต้องเป็นทั้งในเชิงกำหนดให้ (Prescriptive) และเชิงพรรณนา (Descriptive) ซึ่งในการรับมือกับบั้นปลายของชีวิตและการพิจารณาประเด็นที่กว้างกว่าความจำเป็นของชีวิต จะมีลักษณะอื่นใดที่เป็นไปได้ (Feasible)?
อย่างไรก็ตาม อาจไม่น่าประหลาดใจที่ระดับศรัทธาในจิตวิญญาณ (Spiritual belief) มีอิทธิพลต่อขอบเขต (Degree) ที่ผู้คนจะยอมรับ (Adopt) “สุดยอดของชราภาพ” การวิจัยแสดงว่า “สุดยอดของชราภาพ” มีสหสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความเข้าใจที่หยั่งเห็น (Perceived) ของความหมายในชีวิต
ถ้าบุคคลใดมิได้มีศรัทธาในการดำรงอยู่ของจิตวิญญาณ ซึ่งช่วยลด (Diminish) ความหวาดกลัวการตายละก็ “สุดยอดของชราภาพ” อาจแสดงออก (Act) เหมือนตัวทดแทน (Substitute) ซึ่งสอดคล้อง (Accord) กับองค์ความรู้จากการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การคิดเกี่ยวกับโลกจะถูกแยกออกในไม่ช้าในมิติที่กว้างขึ้นและเป็นจิตวิญญาณมากขึ้น จึงจะได้ประสิทธิผล
ตัวอย่างเช่น นักวิจัยได้ศึกษาการแทรกแซง [เพื่อแก้ไข] (Intervention study) ในบ้านพักคนชรา (Residential home) บนพื้นฐานของหลักการ “สุดยอดของชราภาพ” แล้วพบสัญญาณ (Signs) ของการปรับปรุงการตระหนักรู้ในตนเอง (Self- awareness) และในชีวิตสังคม (Social life) ในบ้านพักคนชรานั้น
“สุดยอดของชราภาพ” ดูเหมือนจะนำมาซึ่งการปรับปรุง เมื่อผู้ใหญ่สูงวัยและผู้ดูแลได้รับการสนับสนุนจนสัมฤทธิ์ผล แต่แบบจำลองก็มีข้อจำกัด (Limitation) ตัวอย่างเช่น การศึกษาแบบแทรกแซงดูเหมือนจะขาดการรักษาพยาบาลแบบควบคุม (Control treatment) ดังนั้น เราไม่มีหนทาง (Means) รู้ว่าการแทรกแซงอื่นจะได้ประสิทธิผลเท่ากันหรือมากกว่า
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Mortality salience - https://en.wikipedia.org/wiki/Mortality_salience [2020, July 14].
- Lars Tornstam - https://reasonandmeaning.com/2017/08/07/summary-of-lars-tornstam-on-gerotranscendence/ [2020, July 14].