จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 271 การรับรู้การตาย (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 24 มิถุนายน 2563
- Tweet
การตาย (Death) มักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนถึงชราภาพจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แม้ทุกวันนี้ ผู้ใหญ่สูงวัยมิได้ผูกขาด (Monopoly) อยู่กับการตาย คาดกันว่าประมาณ 70% ของประชากรในซีกโลกตะวันตก จะมีชีวิตอยู่เลย 65 ปี และ 30 ถึง 40% ของประชากรดังกล่าวจะมีอายุเลย 80 ปี
การคาดหมายนี้ ฟังดูเหมือน จะเป็นที่เห็นพ้องต้องกันจนกระทั่งเราเริ่มตระหนักว่า นั่นหมายความว่าประมาณ 30% ของผู้คนจะตายก่อนถึงวัยชรา ซึ่งตัวเลข (Figure) นี้ย่อมต้องสูงกว่านั้นในประเทศกำลังพัฒนา ส่วนสาเหตุของการตาย ก็มิใช่เจาะจงเฉพาะอายุ (Age-specific) เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2010 ประมาณ 16% ของการตายของผู้ชายมาจากโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนของโลหิต (Circulatory system) ในผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี ในทางตรงข้าม14% ของผู้ชายที่ตายจากไวรัสโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องของมนุษย์ (Human immunodeficiency virus : HIV) มีอายุเกิน 65 ปี
อย่างไรก็ตาม ชราภาพเป็นเวลาที่สหสัมพันธ์มากที่สุดกับความตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitably) และเห็นเด่นชัด (Obviously) ด้วยเหตุผลที่แสนจะธรรมดาสามัญ (Prosaic) ว่า ไม่มีอายุที่เกินกว่าวัยชราแล้ว แง่มุมของการตายที่สาหัส (Poignant) ที่สุดก็คือ มันเกิดขึ้นแน่ๆ ไม่ว่าผู้นั้นจะมีชีวิตอยู่อย่างแข็งแรง (Healthy) และ [จิต] บริสุทธิ์ (Virtuous) เพียงใด
ศิลปินคนหนึ่งแสดงออกในงานศิลป์ (Artwork) ของเขา ด้วยถ้อยคำว่า “ความตายคอยคุณอยู่ แม้ว่าคุณจะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม” (Death awaits you even if you do not smoke) ดังนั้น การศึกษาในเรื่องปัจจัยทางจิตวิทยาของการตาย มิได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งโดยอัตโนมัติของการศึกษาจิตวิทยาของผู้สูงวัย
เราอาจประยุกต์ใช้ความน่าจะเป็น (Probabilistically) กับผู้ใหญ่สูงวัย แต่ก็มิได้หมายความว่า การตายมีสหสัมพันธ์เฉพาะ (Exclusively) กับชราภาพ อย่างไรก็ตาม ชราภาพนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บและสภาวะที่เรื้อรัง (Chronic) และทำให้สุขภาพทรุดโทรม (Debilitating)
โรคบางชนิด (อาทิ โรคมะเร็ง [Cancer], โรคหลอดเลือดหัวใจ [Cardio-vascular], และโรคปอด [Pulmonary]) มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตราย (Fatal) ในระยะยาว ดังนั้น แม้การตายจะมิได้อนุรักษ์ (Preserve) ไว้สำหรับชราภาพเท่านั้น แต่การตาบก็เป็นเวลาที่อาจเห็นได้ชัดเจนกว่าเพื่อน และอยู่ในจิตใจของผู้คนส่วนมาก
ในจิตวิเคราะห์ (Psycho-analysis) นักวิจัยมักถกเถียงว่า การรับรู้ (Awareness) ของเราที่ว่า เราทุกคนต้องตาย (Mortal) เป็นปัจจัยสำคัญในการก่อร่าง (Shaping) สร้างบุคลิกภาพ (Personality) และพฤติกรรม (Behavior) ส่วนข้อโต้แย้งกลับ (Counter-argument) ที่เห็นเด่นชัดก็คือ ผู้คนมักไม่รู้ว่าเคยคิดถึงการตายอย่างลึกซึ้งหรือไม่?
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Mortality salience - https://en.wikipedia.org/wiki/Mortality_salience [2020, June 23].