จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 270 โรคจิตเภท (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-270

      

อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบที่ตรงไปตรงมา ของกลุ่มอาการทั้งสองมักทำได้ไม่ง่าย ตัวอย่างเช่น เนื่องจากการปรากฏขึ้นครั้งแรกของจิตเภทในผู้ใหญ่วัยต้น (Early onset schizophrenia : EOS) ได้รับการรักษาพยาบาลการเจ็บป่วยที่แตกต่างกันอย่างมาก (Radically) เมื่อเปรียบเทียบกับการปรากฏขึ้นครั้งแรกของจิตเภทในผู้ใหญ่วัยปลาย (Late onset schizophrenia : LOS) โดยอาจมีผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort effect)

อายุของผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาโรคจิต (Anti-psychotic drug) เป็นครั้งแรก ดูเหมือนจะมีผลกระทบ โดยที่ผู้สูงวัยรายงานปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ (Adverse reaction) อย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าปฏิกิริยาดังกล่าว สามารถได้รับการปรับให้ดีขึ้น (Ameliorated)

ดูเหมือนจะมีความแตกต่างเล็กน้อยในกลุ่มอาการที่พบใน EOS กับ LOS แม้ว่าความแตกต่างดังกล่าว อาจได้รับการแยกแยะในมาตรวัด (Measure) อาทิ รูปแบบของภาพคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electron-encephalogram : EEG) ในการสนองตอบต่อสิ่งเร้าการได้ยิน (Auditory stimulus)

เป็นที่สังเกตว่า ผู้ป่วยจิตเภทมีสัดส่วนจำนวนมาก (Disproportionate) ได้วิวัฒนาโรคสมองเสื่อม (Dementia) หรืออย่างน้อยกลุ่มอาการสมองเสื่อม อย่างไรก็ตาม แม้การศึกษาเนื้อเยื่อในระดับจุลกายวิภาคขั้นต้น (Early histological) พบการสนับสนุนการเชื่อมโยงของโรคนี้กับสมอง แต่งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ มิได้แสดงอาการฝ่อ (Atrophy) ในสมองของผู้ป่วยจิตเภท

อย่างไรก็ตาม การพยากรณ์ (Prognosis) การรักษาพยาบาลผู้ป่วยไม่ว่าจะในรูปแบบใดของการเจ็บป่วย ก็น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดี (Reasonably optimistic) แม้จะมีทรัพยากร (Resources) น้อยกว่าที่เพียงพอ (Available) ต่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วย LOS ก็ตาม

ในบทสรุปในภาพรวม การเจ็บป่วยทางจิต (Mental illness) ในผู้ป่วยสูงวัยมักต่ำกว่าประชากรรวม ปัญหาที่ผู้ป่วยสูงวัยต้องเผชิญอาจร้ายแรง (Grave) แต่ในหลายๆ กรณี ประจักษ์หลักฐานที่ชี้ไปยังประเด็นนี้ ก็มิได้เลวร้าย [ในตัวมันเอง] ไปกว่าประเด็นที่เผชิญโดยผู้ป่วยเยาว์วัยที่มีการเจ็บป่วยเหมือนกัน

การเจ็บป่วยทางจิตในบั้นปลายของชีวิตมิได้ปลดเปลื้อง (Absolve) ผู้ป่วยจากการเจ็บป่วยสามัญทางกายด้วยโรคที่สัมพันธ์กับชราภาพ (Common age-related physical complaint) อาทิ โรคไขข้ออักเสบ (Arthritis) และความเสื่อมถอยของการได้ยิน (Hearing impairment) ซึ่ง [สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า] จะทวีความรุนแรง (Exacerbate) ของปัญหา

ส่วนโรคจิตเภทเป็นกรณีกำเริบ (Relapsing episode) ของโรคจิตวิปลาส (Psychosis) โดยประกอบด้วยกลุ่มอาการประสาทหลอน (Hallucination), ความหลงเชื่อ (Delusion) ที่ผิดแผกจากผู้อื่น, และการคิดสับสน (Disorganized thinking)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Schizophrenia - https://en.wikipedia.org/wiki/Schizophrenia[2020, June 16].