จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 269 โรคจิตเภท (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 10 มิถุนายน 2563
- Tweet
จิตเภท (Schizophrenia) หมายถึงจิตที่แยกออก (Cloven mind) ในความรู้สึก (Sense) ของการแตกหัก (Broken) หรือแตกละเอียด (Fragmented) แทนความเข้าใจผิดยอดนิยม (Popular misconception) ของบุคลิกภาพ 2 ส่วน (Split)
อันที่จริง (Essence) จิตเภทเป็นความผิดปรกติที่ลึกซึ้ง (Profound) ของความคิด (Thought), การหยั่งเห็น (Perception), และภาษาที่มิใช่ด้อยปัญญา (Intellectual disability) แต่เป็นลักษณะพิเศษ (Characteristic) ของการบิดพลิ้วที่รุนแรง (Severe distortion) ในการหยั่งเห็นความเป็นจริง (Reality) และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นพร้อมกัน (Concomitant) ในอารมณ์และพฤติกรรม
การเจ็บป่วยมีหลากหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีกลุ่มอาการที่เด่นชัด (Distinct) ของตัวเอง แต่รูปแบบสามัญที่สุดของกลุ่มอาการได้แก่ ความเชื่อที่ไร้เหตุผล (Irrational) ของหนทางการทำงานในโลกแห่งความเป็นจริง มักเป็นหัวเรื่องทั่วไป (Central theme) ที่ผู้ป่วยดูเหมือนจะถูกกลั่นแกล้ง (Persecuted) นอกจากนี้ อาจมีประสาทหลอน (Hallucination) อาทิ มีเสียงเกิดขึ้นในหัว (Voice in head)
ภาษาที่มักใช้อธิบาย จะเป็นเหมือนฝันไป (Surreal) พร้อมกับการแสดงออกที่ผิดปรกติ (Unusual expression), ความคิด, และคำที่ประดิดประดอยขึ้น (Invented) กรณีสามัญที่สุดของ “จิตเภท” ปรากฏขึ้นครั้งแรกในผู้ใหญ่วัยต้น (Early onset schizophrenia : EOS) แต่ก็มีประมาณ 1 ใน 4 ของกรณีที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่วัยกลาง (Middle age) หรือวัยปลาย (Late onset schizophrenia : LOS)
งานวิจัยบางชิ้นกะประมาณว่า 1 ใน 10 ของผู้ป่วยจิตเภทเริ่มแสดงกลุ่มอาการ เมื่ออยู่ในวัย 60 ปี หรือสูงกว่า นักวิจัยบางคนกำหนด LOS ไว้สำหรับกรณีที่เริ่มต้นระหว่างอายุ 40 ปี ถึง 50 ปี โดยที่กรณีที่สูงวัยกว่านี้ กำหนดว่าเป็นโรคจิตวิปลาส (Psychosis) ที่มีลักษณะคล้ายโรคจิตเภทที่เริ่มปรากฏตัวในวัยดึก (Very late onset schizophrenia-like)
ดังนั้นผู้ป่วยจิตเภทสูงวัย อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือ EOS และ LOS ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของการเจ็บป่วย อาจเป็นการสร้างความเข้าใจที่ผิด (Misleading impression) ที่ว่า LOS ปรากฏขึ้นทันทีทันใดโดยปราศจากสัญญาณเตือน
การศึกษามักรายงานว่า ผู้ป่วย LOS มีชีวิตอยู่อย่างค่อนข้างสันโดษ (Fairly reclusive), ไม่เรียกร้องใดๆ (Undemanding), และมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social contact) เพียงเล็กน้อย เขาเหล่านั้นมักได้รับการปกป้องอย่างรู้ตัว (Consciously) หรือโดยปริยาย (Tacit) โดยพ่อแม่หรือเพื่อนฝูง
ความตายหรือทุพพลภาพ (Incapacitation) ของผู้ป่วยโดยปริยาย เป็นตัวเร่งให้เกิดขึ้นเร็ว (Precipitate) ของการเจ็บป่วย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ LOS อาจเป็นการเจ็บป่วยที่ได้รอคอยให้เกิดขึ้น
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Schizophrenia - https://en.wikipedia.org/wiki/Schizophrenia[2020, June 9].