จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 268 ความผิดปรกติทางบุคลิกภาพ

จิตวิทยาผู้สูงวัย-268

      

แม้ประเภทของบุคลิกภาพ (Personality) จะมีหลากหลายที่มีคุณค่าพอๆ กัน (Equal value) แต่บางรูปแบบ (Pattern) ของพฤติกรรมก็สุดขั้วจริงๆ และไม่สอดคล้อง (At odds) กับเกณฑ์สังคม (Societal norm) ที่จะเป็นสาเหตุของความทุกข์ (Distress) ของผู้ป่วย หรือคนที่ผู้ป่วยต้องปฏิสัมพันธ์ด้วย

สิ่งสำคัญคือข้อสังเกตว่า บุคลิกภาพเหล่านี้ อยู่เกินขอบเขตของสิ่งที่อาจถือว่าเป็นการ “แหกคอก” (Eccentric) แต่ยังเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับได้ (Tolerable) อุบัติการณ์ (Incidence) ของความผิดปรกติ (Disorder) ทางบุคลิกภาพ เชื่อกันว่ามีจำนวนน้อยมากในบั้นปลายของชีวิต

อย่างไรก็ตาม ยังมีอันตรายที่ว่า แพทย์เต็มใจที่จะมองข้ามรูปแบบของพฤติกรรมที่ถือว่าผิดปรกติในผู้เยาว์วัย เนื่องจากความคาดหวังที่แตกต่างกันเกี่ยวกับผู้ใหญ่สูงวัยควรจะประพฤติตนอย่างไร และยังมีแนวโน้ม (Tendency) น้อยที่ผู้ใหญ่สูงวัยจะได้รับการวินิจฉัย (Diagnosed) ว่ามีความผิดปรกติทางบุคลิกภาพ

ในบรรดาวรรณกรรม (Literature) วิจัยจากสหราชอาณาจักรอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ประเภทของความผิดปรกติทางบุคลิกภาพ ได้แก่ผู้ประเมินคุณค่าในตนเอง (Self-image) ต่ำ และผู้หลีกเลี่ยงการพบปะผู้อื่น (Avoidant) ตลอดจนผู้พึ่งพาผู้อื่นมากเกินไป (Dependent) กล่าวคือเต็มใจให้ผู้อื่นตัดสินใจทุกสิ่งทุกอย่างแทนตนเอง

เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าว สอดคล้องกับแบบอย่างตายตัว (Stereotype) ของผู้สูงวัยที่เกษียณแล้ว จึงพอจะพิจารณาได้ (Conceivable) ว่า จึงอาจได้รับการแยกแยะผิดๆ (Falsely identified) ว่าเป็นพฤติกรรมปรกติ นักวิจัยถกเถียงว่า ความผิดปรกติทางบุคลิกภาพ อาจถูกปิดบัง (Masked) ด้วยพฤติกรรมอื่นที่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยทางจิต (Mental) หรือแม้กระทั่งทางกาย

เนื่องจากการพิจารณาถึงปัจจัยเหล่านี้ ในระดับที่แท้จริงของความผิดปรกติทางบุคลิกภาพ อาจสูงกว่าที่ควรจะเป็น (Supposed) อย่างไรก็ตาม ระดับที่รู้สึกว่าสูงมากในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Depression) และความผิดปรกติทางบุคลิกภาพ มีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการทำร้ายตนเอง (Self-harm) ในผู้ใหญ่สูงวัย

พึงสังเกตว่ามี ความเป็นไปได้ของความแตกต่างทางวัฒนธรรม (Cultural differences) ในความบ่อยถี่สัมพัทธ์ (Relative frequency) ของความผิดปรกติเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น นักวิจัยชาวโครเอเชีย (Croatian) รายงานว่า สิ่งที่ปรากฏไปทั่ว (Prevalence) ในประเทศของเขาคือความผิดปรกติของนิสัยทารุณกรรม (Sadistic) และนิสัยต่อต้านสังคม (Anti-social) ในผู้ชาย และความผิดปรกติในการเอาชนะตนเอง (Self-defeating), การควบคุมตนเองแบบก้ำกึ่ง (Borderline), และการมี 2 บุคลิกภาพ (Schizotypal) ในผู้หญิง

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Personality disorder - https://en.wikipedia.org/wiki/Personality_disorder[2020, June 2].