จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 267 การเสพติด (6)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 27 พฤษภาคม 2563
- Tweet
ไม่ว่าผู้ที่ติดเหล้าจะเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด ความเสี่ยงของสุขภาพและคนขี้เหล้า (Alcoholics) ก็จะสูงกว่าเปอร์เซ็นต์นั้นเสมอ อย่างไรก็ตาม ผู้มีทัศนคติทำลายความสุขของผู้อื่น (Killjoy) เป็นอันตรายที่สามารถขยาย (Extrapolate) ออกไปได้กว้างไกล กล่าวคือ (Imply) การดื่มเหล้าทุกชนิดต้องมีผลกระทบในเชิงลบผลต่อผู้สูงวัย
อันที่จริง นักวิจัยพบว่า เมื่อควบคุมตัวแปรของการดื่มเหล้า (Drinking variables) ผู้ดื่มสูงวัยมีปัญหาพฤติกรรมน้อยกว่าผู้ดื่มเยาว์วัย ในหลายสถานการณ์ (Instances) ความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเหล้ากับการเจ็บไข้ได้ป่วยในบั้นปลายของชีวิต ยังไม่ชัดเจน (Clear-cut)
ดูเหมือนว่า การดื่มเหล้าบ้างอาจเป็นประโยชน์ (Beneficial) ต่อสุขภาพ นักวิจัยศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) 10 ปี พบว่า การดื่มเหล้าปริมาณปานกลาง (Moderate intake) ในแต่ละวัน (ประมาณ 4 แก้วสำหรับผู้ชาย และ 2 แก้วสำหรับผู้หญิง) สามารถลดความเสี่ยงการตาย (Mortality risk) ได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มิได้ดื่มเหล้าทุกสัปดาห์
อย่างไรก็ตาม พึงสังเกตว่า ผู้ดื่มเหล้าประจำ แต่ปราศจาก (Abstain) เหล้าเพียง 1 หรือ 2 วันต่อสัปดาห์ ก็อาจมีอัตราการตายที่สูงกว่า ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่การมีวิถีชีวิตที่ผ่อนคลายอย่างมีความสุข (Relaxed happy lifestyle) เป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการดื่มเหล้าโดยตัวมันเอง (per se)
มีประจักษ์หลักฐานว่า สำหรับผู้มีอายุในวัย 50 ปี การดื่มเหล้ามีความสัมพันธ์กับการเสื่อมถอยที่ชะลอลง (Slower decline) ในเรื่องความทรงจำในบรรดาผู้ชาย และทัศนคติด้านการปฏิบัติ (Psycho-motor skill) ในบรรดาผู้หญิง อย่างไรก็ตาม การวิจัยในเวลาต่อมา อ้าง (Claim) ว่าการดื่มเหล้าในปริมาณปานกลางไม่ได้ปกป้องการเสื่อมถอยในการรับรู้ (Cognitive decline) ในบั้นปลายของชีวิต
ก่อนสิ้นสุดเรื่องนี้ เราควรต้องสอดแทรก (Insert) การตรวจสอบความเป็นจริง (Reality check) แม้ว่าปัญหาการเสพติดเหล้า จะเป็นปัญหาร้ายแรง และทวีปริมาณต่อเนื่องอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ก็มีผลกระทบต่อส่วนน้อยของผู้ใหญ่สูงวัย อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ควรบรรเทา (Lessen) ระดับความกังวล (Level of concern) สำหรับผู้คนเหล่านี้ แต่ก็ควรตั้ง¬¬ข้อสังเกต (Worth noting) ว่า ในบรรดาผู้ใหญ่สูงวัยที่มีสุขภาพแข็งแรง การเสพติดสาร (Substance abuse) อยู่ในระดับต่ำสุด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ของวัยผู้ใหญ่
ส่วนสาเหตุที่แท้จริงของการเสพติดสารยังไม่ปรากฏชัดเจน แต่มี 2 ทฤษฎีเด่น (Predominant theory) ทฤษฎีหนึ่งอธิบายว่า เป็นความผิดปรกติทางพันธุกรรม (Genetic disposition) ซึ่งเรียนรู้มาจากผู้อื่น และอีกทฤษฎีหนึ่งอธิบายว่า เป็นนิสัย (Habit) ซึ่งการเสพติดวิวัฒนาแล้วแสดงออก (Manifest) เป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้สุขภาพทรุดโทรม (Chronic debilitating disease)
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Substance abuse - https://en.wikipedia.org/wiki/Substance_abuse[2020, May 26].