จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 266 การเสพติด (5)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 20 พฤษภาคม 2563
- Tweet
นักวิจัยสังเกตเห็นปัญหารุนแรงจากผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort effect) เนื่องจากชั่วอายุคนของเด็กที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ค่อนข้างดื่มจัด เมื่อเปรียบเทียบกับชั่วอายุคนอื่น อาจปราศจากความระมัดระวัง (Prudence) ที่จะลดระดับแอลกอฮอล์ ลงถึงระดับที่เหมาะสมทางการแพทย์ (Medically desirable) ดังนั้นจึงสร้างปัญหา ที่เพิ่มภาระให้แก่ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพ (Health-care services)
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงจะเป็นเท่าใด ประมาณ 5% ของผู้ใหญ่สูงวัยชาวอเมริกันที่อยู่อย่างอิสระ [โดดเดี่ยว] (Independent living) มีปัญหาดื่มเหล้าจัด นักวิจัยรายงานตัวเลขคล้ายคลึงกันในสหราชอาณาจักรอังกฤษ ในประมาณ 5% ของผู้ชายสูงวัย และ 2.5% ของผู้หญิงสูงวัย
นักวิจัยพบว่า การดื่มเหล้าจัด ดูเหมือนจะเกิดจากความรู้สึกอ้างว้าง (Loneliness) ซึ่งรองรับสนับสนุน (Underpin) ด้วยนานาปัจจัย อันประกอบด้วย (Encompass) เหตุการณ์ชีวิตในเชิงลบ และปัญหาสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าประหลาดใจเลย แต่ขี้เมาเหล่านี้ โดยทั่วไปมักเป็นผู้ที่มีความมั่นคงทางการเงิน (Financially secure) จึงมีปัญญาซื้อเหล้า และมีแนวโน้มที่จะกระฉับกระเฉงในชีวิตสังคม (Active social life)
นักวิจัยพบว่า การเสพแอลกอฮอล์เกินควร (Over-drinking) มีสหสัมพันธ์กับกลุ่มอาการซึมเศร้า (Depressive symptoms) และสถานการณ์ทำงานที่ย่ำแย่ (Poor functional status) กล่าวคือ ปัญหาในการทำงานในชีวิตประจำวัน นักวิจัยเองก็มีปัญหาไม่น้อยในการแยกแยะ (Identify) ปัญหาขี้เมาสูงวัย
มาตรวัดการวิเคราะห์ (Diagnostic measure) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้รับการออกแบบสำหรับผู้ใหญ่เยาว์วัย เพราะโดยทั่วไป วรรณกรรมวิจัย (Research literature) มีข้อสมมุติฐานว่า การดื่มเหล้าเกินควรเป็นปัญหาของผู้เยาว์วัย ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Health authority) มักสาละวน (Pre-occupy) อยู่กับปัญหาการดื่มสุรา (Binge) ของเด็กวัยรุ่นที่มีอายุในราว 20 ปี
นักวิจัยถกเถียงว่า วิธีการคัดกรอง (Screen) ในปัจจุบัน อาจประเมินต่ำเกินไปในเรื่องปัญหาของผู้สูงวัย โดยสังเกตว่าการดื่มเหล้าจัดอาจมีความสัมพันธ์กับสารพัน (Myriad) ปัญหาสุขภาพในผู้สูงวัย ซึ่งทำให้การแยกแยะ “ตัวการ” (Precursor) ของการดื่มเหล้าจัด เป็นไปได้ยาก (Problematic) ในทำนองเดียวกัน การวัดผลกระทบต่อสุขภาพของการลดการดื่มเหล้าลงในผู้สูงวัย ก็ซับซ้อนยิ่งขึ้นด้วยตัวแปรกวน (Confounding variable)
งานวิจัยโดยทั่วไปพบว่า ผู้สูงวัยชายมีแนวโน้ม (Prone) มากกว่าผู้สูงวัยหญิงที่จะดื่มเหล้าจัด ประมาณ 3 เท่าตัว อย่างไรก็ตาม ตัวเลขแม่นยำ (Precise) อาจแปรผันไปตามแต่ละการศึกษา ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมเฉพาะในการทดสอบและวิธีวัดผล และในบางกรณี ผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort effect)
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Substance abuse - https://en.wikipedia.org/wiki/Substance_abuse[2020, May 19].