จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 263 การเสพติด (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-263

      

แม้ผู้เชื่อมั่นในความเท่าเทียมกัน (Egalitarian view) ก็ยังพบว่าเป็นการยากที่จะจินตนาการถึงผู้สูงวัยเสพยาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psycho-active drug) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้สูงวัยเป็นผู้ใช้ยาสะกดจิต (Hypnotic) ที่สั่งโดยแพทย์อย่างถูกกฎหมาย (Legitimately prescribed) อาทิ ยาที่เหนี่ยวนำให้นอนหลับ (Sleep-inducing) และกล่อมประสาท (Sedative)

นักวิจัยกะประมาณ (Estimate) ว่า 1 ใน 4 ของผู้สูงวัยชาวอเมริกันใช้ยาซึ่ง (อย่างน้อยทางทฤษฎี) อาจเสพติด (Abuse) และประมาณ 11% ที่ได้ใช้ยาดังกล่าวอย่างจริงจัง การใช้เสพติดยาเหล่านี้ โดยความบังเอิญ (Accidental) หรือความจงใจ (Deliberate) เป็นหนึ่งในสาเหตุส่วนใหญ่ของการลงเอยในแผนกอุบัติภัย (Casualty) หรือฉุกเฉิน (Emergency) ของโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา

ในหลายๆ กรณี เหตุผลก็คือ ร่างกายของผู้สูงวัยไม่สามารถเผาผลาญ (Metabolize) ยาดังกล่าว แม้จะกินยาตามตารางปริมาณ (Dosage schedule) ที่แพทย์สั่ง (Prescribed) อันนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ อาทิ ความเพ้อคลั่ง (Delirium) อย่างไรก็ตาม สัดส่วนจำนวนมาก (Appreciable proportion) ของผู้ใหญ่สูงวัยที่กินยากล่อมประสาท ลงเอยด้วยการเสพติด

ปัญหารุนแรงขึ้น (Exacerbated) เนื่องจากผู้ป่วยอาจไม่รู้ถึงความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับยามีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ด้วยเหตุผลว่า หากแพทย์ออกใบสั่ง ก็คงไม่เป็นไร และดังนั้นความเสื่อมถอย (Deterioration) ของการตื่นตัว (Alertness) และความสามารถในการรับรู้ (Cognitive) จึงถูกมองข้ามไป

ดูเหมือนจะเป็นการแดกดัน (Ironic) ที่ในหลายๆ กรณี การสั่งยาเสพติดไม่น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ ตัวอย่างเช่น การศึกษาโดยนักวิจัยแสดงว่าสัดส่วนของผู้ใหญ่สูงวัยในสถานคนชราที่พึ่งยาจิตประสาท (Psycho-tropic) สามารถลดลงได้โดยปราศจากผลกระทบต่อกลุ่มอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิต

นักวิจัยพบว่า 88% ของผู้ใหญ่สูงวัยที่มีปัญหาพฤติกรรม ไม่ได้รับยารักษาโรคจิต (Neuroleptic) [กล่าวคือยากล่อมประสาท (Tranquillizer)] ที่เหมาะสม นี่เป็นสิ่งที่น่ากังวลมิใช่เพียงเพราะการใช้สารเคมีดังกล่าวเป็นวิธีการที่ยังไม่ชัดเจน (Dubious) ของการควบคุมพฤติกรรรมที่ไม่พึงปรารถนา แต่เป็นเพราะยารักษาโรคจิตลดการทำงานของการรับรู้ (Cognitive functioning) ด้วย และในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia) ยิ่งทวีการเร่ง (Accelerate) อัตราการเสื่อมถอย (Decline)

แม้ว่าอัตราที่แม่นยำ (Precise rate) ของการสั่งยาเกินขนาด (Over-prescribing) [อาทิ ยาเสพติด] อาจยังไม่แน่ชัดในทุกสถานการณ์ แต่การสั่งยาผิด (Mis-prescribing) เป็นสิ่งที่น่ากังวล แต่อนิจจา (Alas) การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ งานวิจัยแสดง (Demonstrate) ว่า ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ, ยุโรป, และสหรัฐอเมริกา การสั่งยาที่ไม่ระมัดระวังเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่สูงวัยทั้งที่อยู่ในสถานคนชราและในชุมชน

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Substance abuse - https://en.wikipedia.org/wiki/Substance_abuse[2020, April 28].