จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 257 การด้อยความสามารถในการเรียนรู้ (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 18 มีนาคม 2563
- Tweet
การศึกษาโดยการฉายแสงประสาท (Neuro-imaging) ผู้สูงวัยที่ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ (Learning disabilities) และเป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia) ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างเด็ดขาด (Inconclusive) ผู้สูงอายุที่ด้อยความสามารถในการเรียนรู้อาจวิวัฒนาโรคสมองเสื่อมจริง (True) ในอัตราที่สูงขึ้น หรือเพียงทำงานคล้ายคลึง (Functionally resemble) กับผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม เป็นจุดที่ยังถกเถียงกัน (Moot point) อยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามเป็นที่สังเกตว่า การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม (Behavioral change) ของผู้ที่ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ที่ได้รับการวินิจฉัย (Diagnosed) ว่า เป็นโรคสมองเสื่อมนั้น คล้ายคลึงกับผู้ที่มิได้ด้อยความสามารถในการเรียนรู้เลย
พึงสังเกตด้วยว่า การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมในผู้ที่ด้อยความสามารถในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ยากมาก เพราะผู้คนดังกล่าวมักมีทักษะการรับรู้ที่อยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นการแยกให้เห็นเด่นชัด (Discriminate) ระหว่างการด้อยความสามารถกับสภาวะสมองเสื่อม (Demented state) มักเป็นปัญหา (Problematic) อยู่เนืองนิจ
แม้จะมีมาตรการอยู่แล้วสำหรับประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาวมะสมองเสื่อมในผู้ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ แต่หลายมาตรการก็ไม่จำเป็นต้องเหมาะสม (Necessarily appropriate) และมักจะ (Typically) วัดการเปลี่ยนแปลงการทำงานมากกว่า นอกจากปัญหานี้แล้ว การเปลี่ยนแปลงการรับรู้ในผู้คนที่ด้อยความสามารถในการเรียนรู้มักได้รับความใส่ใจน้อย (Discounted) หรือถูกมองข้ามไป (Overlooked)
พึงสังเกตด้วยว่า มิใช่ทุกคนที่ด้อยความสามารถในการเรียนรู้จะวิวัฒนาความซึมเศร้าหรือสมองเสื่อม เมื่อไม่มีปัญหาใหญ่หลวง (Great magnitude) ปรากฏให้เห็น ประจักษ์หลักฐานชี้ชัดว่า ผู้มีรูปแบบการทำงานปรกติของสมอง (Neuro-typical) และผู้ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ ต่างประสบรูปแบบของผู้สูงวัย (Pattern of aging) ที่คล้ายคลึงกัน
ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ มีประชาชนประมาณ 1.5 ล้านคนที่ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ และมีจำนวนมากที่อาศัยอยู่ด้วยกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฟังเสียงสะท้อน เพื่อให้บริการที่สนองตอบความจำเป็น โดยเฉพาะประเด็นผู้สูงวัยที่ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ ต้องเผชิญอยู่
สถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศทางดูแลสุขภาพ (National Institute for Health & Care Excellence : NICE) ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติ (Guideline) เพื่อรองรับสนับสนุนผู้สูงวัยให้เข้าถึงบริการดังกล่าว โดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ผู้สูงวัยประสบอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่การเจ็บป่วยไป (อาทิ การสูญเสียการได้ยิน) จนถึงความซึมเศร้า, การแยกแยะความจำเป็นที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต (อาทิ การเข้าถึงข้อมูลสำคัญในรูปแบบ [Format] ที่เขาคุ้นเคย), และให้บริการที่ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (อาทิ การตัดสินใจตามทางเลือกที่เขามีอยู่) ตลอดจนสนับสนุนครอบครัวผู้สูงวัยและผู้ดูแลผู้สูงวัยด้วย
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- What should care and support look like for older people with learning disabilities? https://socialcare.blog.gov.uk/2018/08/24/what-should-care-and-support-look-like-for-older-people-with-learning-disabilities/ [2020, March 17].