จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 256 การด้อยความสามารถในการเรียนรู้ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-256

      

นักวิจัยพบว่า ในทศวรรษก่อนหน้านี้ มีการวิจัยมากกว่า 20,000 ชิ้น ในเรื่องช่วงความผิดปรกติ (Spectrum disorder) ของการเจริญของระบบประสาท (Autism) แต่ก็มีไม่ถึง 10 ชิ้นที่เกี่ยวกับผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ โดยพบระดับสูงของความวิตก (Anxiety) และความซึมเศร้า (Depression) เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรโดยทั่วไป

การศึกษาหลังจากนี้ (Subsequent) ได้สะท้อน (Echo) บทสรุปเดียวกัน โดยมีข้อควรระมัดระวัง (Caution) ที่นักวิจัยค้นพบว่า การวิจัยบางชิ้นได้ใช้เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ (Diagnostic tool) ที่เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย แต่ก็มีการวิจัยชิ้นอื่นที่ยังเชื่อถือไม่ค่อยได้ ซึ่งสร้างปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ กล่าวคือถ้าการทดสอบมิได้เป็นมาตรฐาน (Standardized) อย่างเหมาะสม ก็จะมีปัญหาว่า เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องอาจได้รับการตรวจวิเคราะห์ที่น้อย (หรือมาก) เกินไป

จุดที่ควรกังวล (Especially worrying) ก็คือ ผู้ที่ได้รับการแยกแยะว่ามีความซึมเศร้า (Depression) แต่ไม่ปรากฏ ณ เวลาที่ทดสอบกัน พึงสังเกตว่า ผู้ให้บริการมักสังเกตเห็นกลุ่มอาการของความซึมเศร้า แต่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญ ภายในกลุ่มประชากรหลัก (Mainstream) ที่สูงอายุว่า ความซึมเศร้าเป็นการทำงานของที่เสื่อมถอยลงทางปัญญา

ในกรณีสุดขั้ว (Extreme) ของผู้สูงวัย อาจนำไปสู่โรคสมองเสื่อมเทียม (Pseudo¬-dementia) โดยเฉพาะในกรณีผู้ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ ผลกระทบ (Effect) ดังกล่าวจะค่อนข้างลึกซึ้ง (Profound) เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่อยู่ในโลกของความเพ้อฝัน (Autism) ซึ่งเป็นโรคสมองเสื่อมเทียม

นักวิจัยศึกษาโรคสมองเสื่อมเทียมในผู้สูงวัยที่มีอาการดาวน์ (Down syndrome) ได้พิจารณา (Address) ประสิทธิผล (Efficacy) ของเซโรโทนินยับยั้งโปรตีน (Serotonin reuptake inhibitor) ในความซึมเศร้าของผู้ป่วยอาการดาวน์ ปรากฏว่า 4 ใน 37 ของกรณีศึกษานั้น ผู้ป่วยดังกล่าวเป็นโรคสมองเสื่อมเทียม

นอกจากโรคสมองเสื่อมเทียมแล้ว ผู้ด้อยความสามารถในการเรียนรู้อาจติด (Contract) โรคสมองเสื่อมจริง (True dementia) เป็นที่ทราบกันว่า ผู้มีอาการดาวน์ มีความเสี่ยงสูง (Elevated risk) ของการวิวัฒนาโรคสมองเสื่อม นักวิจัยโต้เถียงว่า ผู้ใหญ่อายุเกิน 60 ปีที่ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ แต่มิได้มีอาการดาวน์ อาจมีโอกาสระหว่าง 2 ถึง 3 เท่าที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมจริง เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรโดยทั่วไป

การศึกษาก่อนหน้านี้ นักวิจัยพบเหตุการณ์ (Incident) ที่มีโอกาสสูงเป็น 4 เท่าในตัวอย่างของเธอ เราอาจสงสัยว่าผู้คนดังกล่าวได้วิวัฒนาโรคสมองเสื่อมจริงหรือไม่ แต่ก็เป็นไปได้ที่บางคนได้ประสบ (Experience) ความเสื่อมถอยที่เป็นมาตรฐานของวัยชรา (Senescent) แต่เนื่องจากเขาเหล่านั้นมีทักษะการรับรู้ในระดับต่ำอยู่แล้ว จึงทำให้การทำงานคล้ายคลึง(Functionally resemble) กับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. What should care and support look like for older people with learning disabilities? https://socialcare.blog.gov.uk/2018/08/24/what-should-care-and-support-look-like-for-older-people-with-learning-disabilities/ [2020, March 10].