จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 254 ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 26 กุมภาพันธ์ 2563
- Tweet
นักวิจัยโต้เถียงว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (Dementia) เป็นมากกว่าเพียงผู้ป่วยด้วยโรค เขาเป็นส่วนผสมเข้มข้น (Rich mixture) ของนานาอิทธิพล อันนำนักวิจัยไปสู่การสร้างสมการ (Equation) ดังต่อไปนี้
D = P + B + H + NI + SP
โดยที่ D คือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ซึ่งประกอบด้วย P คือบุคลิกภาพ (Personality), B คือ ประสบการณ์ชีวิตจนถึงปัจจุบัน (Biography), H คือสุขภาพกาย (Physical health), NI คือ ระดับความเสื่อมถอยของประสาท (Neurological impairment) จากโรคสมองเสื่อม และ SP คือจิตวิทยาสังคม (Social psychology)
วลี (Phrase) เหล่านี้ อธิบายโดยตัวมันเอง (Self-explanatory) ยกเว้นวลีสุดท้าย ‘จิตวิทยาสังคม’ ในที่นี้มีความหมายในเชิงลบ (Malignant) อันเป็นสภาพแวดล้อม (Surroundings) ที่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเผชิญอยู่ โดยคุกคาม (Intimidate) และริดรอน (Strip) ความรู้สึกของอัตลักษณ์ (Identity) ส่วนบุคคล
ผู้ที่เคยไปเยี่ยมชมบ้านพัก (Residential home) ของผู้สูงวัย ที่ปราศจากการดูแลที่ดี จะเข้าใจความหมายนี้ดี อันที่จริง มันไม่ใช่เป็นเพียงความผิด (Fault) ของผู้บริหารสถาบัน (Institution) ดังกล่าว บุคลากรดูแลผู้ป่วยที่ระราน (Bully) และทารุณ (Sadistic) ผู้ป่วย ก็มักไม่มีความปราณี (Mercifully rare) ต่อผู้ป่วย
ที่เลวร้าย (Damaging) พอๆ กันก็คือบ้านบริบาล (Care home) ที่ทำทุกๆ อย่างให้ดีที่สุดด้วยจิตสำนึก (Consciously) ต่อผู้ป่วย แต่ไม่ยอมให้ผู้อยู่อาศัยมีโอกาสเบี่ยงเบน (Leeway) พฤติกรรมใดๆ เพราะความเป็นเจ้าระเบียบ (Neat and tidy) ในทุกสิ่งทุกอย่าง
อันที่จริง ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมควรเป็นศูนย์กลาง (Patient-centric) โดยมีมาตรการ (Measure) ที่เรียกว่า “การจับคู่ดูแลโรคสมองเสื่อม” (Dementia-care mapping) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพื่อดูว่าเขามีปฏิกิริยาอย่างไรต่อการบำบัดรักษา (Treatment) และกิจกรรมโดยทั่วไปในหอผู้ป่วยใน (Ward)
จากนั้นก็ใช้เสียงสะท้อน (Feed-back) จากข้อสังเกต (Observation) ในการเปลี่ยนแปลง (Amend) พฤติกรรมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น บางพฤติกรรมอาจดูเหมือนไม่สำคัญ (Trivial) อาทิ ผู้ปฏิบัติงาน (Practitioner) มักไม่รู้ว่าสิ่งธรรมดาๆ อย่างเช่นการพูดคุยกัน (Chatting) เมื่อเดินเข้าห้อง โดยไม่ทักทายต้อนรับ (Greeting) อาจทำให้ผู้ป่วยไม่พอใจ (Upsetting)
มีผู้สนับสนุนความคิดนี้ แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ (Criticism) เหตุผล (Rationale) ที่อยู่เบื้องหลังการให้คะแนนทดสอบในการวิธีการ (Procedure) การจับคู่การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม และการตรวจสอบหรือพิสูจน์ผล (Validation)
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- What is a Patient-Centric Approach? https://www.evariant.com/faq/what-is-a-patient-centric-approach [2020, February 25].