จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 253 ผลกระทบต่อผู้ดูแลผู้ป่วย (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 19 กุมภาพันธ์ 2563
- Tweet
นอกจากนี้ ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในบางประเทศ อาทิ สหราชอาณาจักรอังกฤษ ต้องอดทน (Endure) ต่อระบบสุขภาพและสวัสดิการที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลในลักษณะขูดรีด (Bleed) ก่อนเบิกเงินคืนได้ตามสิทธิ์ ความจริงก็คือ หากผู้ดูแลผู้ป่วยไม่ร่ำรวยพอ เขาจะไม่สามารถจ่ายเงินแทนผู้ป่วยไปก่อน
ญี่ปุ่นได้กำหนด (Instituted) การประกันสุขภาพ เป็นภาคบังคับ (Compulsory) ที่ครอบคลุม (Cover) ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยสูงวัยระยะยาว จึงเป็นนิมิตในแง่บวก (Optimistic sign) ในเบื้องต้น [แต่ในระยะยาว ค่าใช้จ่ายดังกล่าว จะกลายเป็นภาระที่หนักอึ้งของรัฐ]
อย่างไรก็ตาม การประเมินผลในวงกว้าง (Large-scale assessment) ยังคงต้องมี และคงไม่ต้องคาดหวังว่า ทุกประเทศจะมีปฏิกิริยาที่กระตือรือร้นอย่างเท่าเทียมกัน เพราะมันได้กลายเป็นภาษีอีกชนิดหนึ่ง [ซึ่งในที่สุด ภาษีนี้จะกลายเป็นภาระของรัฐที่แบกไม่ไหวเมื่อจำนวนผู้สูงวัยทวีขึ้นไปเรื่อยๆ ]
ไม่น่าแปลกใจเลยว่า มีประจักษ์หลักฐานมากมาย (Large body of evidence) ว่า การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมักส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า (Depression), ความเครียด (Stress), และปัญหาอื่นที่สัมพันธ์กับสุขภาพในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีแนวโน้มที่ทำให้พฤติกรรมผู้ป่วยเลวร้ายลงอย่างรุนแรง (Severe)
ความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย (Suicide risk) ก็สูงขึ้น และการฆาตกรรม (Murder) ผู้ป่วย แล้วตามด้วยการฆ่าตัวตายของผู้ดูแลผู้ป่วยเอง เป็นสิ่งที่รับรู้กันอยู่ เนื่องจากแรงกดดันอย่างหนัก (Immense pressure) ที่ผู้ดูแลผู้ป่วย (ไม่ว่าเป็นคนในครอบครัวหรือนักวิชาชีพ) ต้องเผชิญ การกระทำผิด (Abuse) ต่อผู้สูงอายุเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรง (Violence) หรือพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา (Undesirable) อาทิ การละเลย (Neglect)
เป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมที่เราควรกังวลเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม (Dementia) เพราะมันเป็นความเจ็บป่วยที่น่ารังเกียจ (Nasty) ซึ่งมีผลที่ตามมาอย่างน่าสะพรึงกลัว (Horrible consequence) ทั้งผู้ป่วยและครอบครัว แม้จะไม่คำนึงถึงเรื่องนี้ แต่ภาระทางการเงินที่หนักหน่วง (Huge) ก็เพียงพอที่จะสั่นคลอนการเอาใจใส่ของผู้ดูแลที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด (Flintiest heart)
อย่างไรก็ตาม เราอาจให้ความสำคัญมากเกินไป (Overplay) แก่ข้อโต้เถียงเรื่องข้อด้อย (Disadvantage) ของผู้ป่วยที่เราพยายามจะช่วยเหลือ ในการนำเสนอโรคสมองเสื่อมว่าเป็นสิ่งที่เปลี่ยนภาวะทางจิต (Mental state) ของผู้ป่วยนั้น เรากำลังมองข้าม (Lose sight) ความจริงที่ว่า ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมยังคงพยายามเข้าใจโลกรอบตัวเอง (Make sense of the world) และอยู่อย่างมีความสุข
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Issues in Dementia Caregivers https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3774150/[2020, February 11].