จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 252 ผลกระทบต่อผู้ดูแลผู้ป่วย (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 12 กุมภาพันธ์ 2563
- Tweet
การทำงานของกลิ่น (Olfaction function) มักเลวร้ายลงในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) ในการทบทวนวรรณกรรม (Literature) นักวิจัยสรุปว่า ปัญหาของกลิ่นมีประสิทธิผล (Effective) ในการแยกแยะ (Distinguish) ระหว่างผู้ป่วย AD กับผู้สูงวัยที่มิได้เป็นโรคสมองเสื่อม (Non-dementing) และในการแยกแยะระหว่างผู้ป่วย AD กับรูปแบบอื่นของโรคสมองเสื่อม อาทิ โรคฮันติงตั้น (Huntington’s disease)
รูปแบบทั้งหมดของการเจ็บป่วยมีผลกระทบในเชิงลบไม่เพียงแต่ต่อผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังต่อครอบครัวและเพื่อนฝูงของผู้ป่วยที่ช่วยดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตามผลกระทบอาจมีมากเป็นพิเศษ (Particularly strong) ต่อผู้ให้การดูแล (Care-giver) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม เนื่องจากลักษณะของการเจ็บป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถส่งเสียงสะท้อนกลับ (Feedback) ได้อย่างเพียงพอ
เราใช้จินตนาการ (Imagination) เพียงเล็กน้อย ก็จะเล็งเห็น (Envisage) ความเครียดที่โดดเด่น (Unique stress) ที่เหนี่ยวนำ (Induced) โดยการดูแลคู่ชีวิต (Spouse) หรือพ่อแม่ที่จำเป็นต้องได้รับการใส่ใจอย่างสม่ำเสมอ (Constant attention) แม้ผู้ป่วยจะไม่มีโอกาสดีขึ้น และไม่สามารถจำ (Recognize) ผู้ให้การดูแลได้
นักวิจัยแสดงให้เห็นว่า การศึกษาระดับกว้าง (Large-scale) ในเรื่องความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยด้วยโรคอื่น เนื่องจากโรคสมองเสื่อมไม่สามารถรักษาได้ (Incurable) และผลกระทบต่อผู้ให้การดูแลผู้ป่วยค่อนข้างลึกซึ้ง (Profound) จึงมีเหตุผลที่จะโต้เถียงว่า ความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ควรจะรวมถึงมาตรวัด (Measure) ว่า ชีวิตของผู้ให้การดูแล ได้รับผลกระทบอย่างไร?
ระดับของภาระ (Burden) ของผู้ให้การดูแลผู้ป่วยมักถูกกำหนด (Determined) โดยปัจจัยจำนวนมาก รายการต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่าง (Illustrative) มากกว่าเป็นรายการทั้งหมด (Exclusive)
- ภาระของการดูแลผู้ป่วยเยาว์วัย จะมากกว่าผู้ป่วยสูงวัย
- ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia : VaD) แสดงออกซึ่งปัญหามากกว่าผู้ป่วย AD ในขั้นต้นของความเจ็บป่วย แต่จะกลับกัน (Reversal) ในขั้นปลาย
- ความจำเป็น (Demand) ตามกลุ่มอาการ (Symptoms) ของผู้ป่วย มีผลกระทบต่อภาระของผู้ดูแลผู้ป่วย
- ในทำนองเดียวกัน กิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่สามารถทำเองได้ จะช่วยลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วย
- กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หากผู้ป่วยต้องพึ่งพิงผู้ดูแลมาก ก็ยิ่งเพิ่มภาระผู้ดูแลผู้ป่วย
- ความพึงพอใจ (Satisfaction) ที่ดี ต่อความสัมพันธ์ก่อนเกิดโรค (Pre-morbid) กับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม จะช่วยลดภาระที่หยั่งเห็น (Perceived burden) ในการดูแลผู้ป่วย
แหล่งข้อมูล: