จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 251 มิติสัมพัทธ์

จิตวิทยาผู้สูงวัย-251

      

ตัวอย่างเด่นของทักษะมิติสัมพัทธ์ (Visuo-spatial) ได้แก่การวาดรูป (Drawing) ผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) มักแสดงปรากฏการณ์ (Phenomenon) ที่เรียกว่า “กระชับใกล้” (Close-in) การทดสอบเริ่มด้วยการให้กระดาษแผ่นหนึ่งแก่ผู้เข้าร่วมวิจัย บนกระดาษมีการพิมพ์ภาพ (Figure) หนึ่งซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการร้องขอให้คัดลอก (Copy) ไว้ตรงส่วนที่ว่างเปล่า (Blank section) บนกระดาษเดียวกัน ผู้ที่มิได้เป็นโรคสมองเสื่อม (Non-dementing people) มีแนวโน้มที่จะคัดลอกภาพไว้ ณ ส่วนว่างเปล่า ซึ่งเห็นเด่นชัด (Distinct) จากภาพเป้าหมาย (Target figure)

แต่ผู้ป่วย AD และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia : VaD) มีแนวโน้ม (Tendency) ที่จะวาดภาพทับซ้อน หรือใกล้กับภาพดั้งเดิม ปรากฏการณ์นี้ดูเหมือนเป็นความพยายาม (Attempt) ที่จะชดเชย (Compensate) ความบกพร่อง (Dysfunction) ของมิติสัมพัทธ์อย่างเด่นชัด (Pronounced) เนื่องจากผู้ป่วย AD ยังคงสงวนไว้ (Preserved) ซึ่งมิติสัมพัทธ์ จึงมีแนวโน้มที่จะแสดงออกซึ่งการ “กระชับใกล้”

มาตรวัด (Measure) ของพื้นที่การมองเห็นที่ใช้กันบ่อย (Commonly used) คือการทดสอบการวาดรูปนาฬิกา (Clock-drawing test : CDT) ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยต้องคัดลอกหน้าปัด (Face) ของนาฬิกาไขลาน (Analogue) นักวิจัยรายงานถึงความน่าเชื่อถือระหว่างผู้ประเมิน (Inter-rater reliability) และความอ่อนไหว (Sensitivity) ของการแยกแยะ (Identify) กรณีอย่างอ่อน (Mild) ของผู้ป่วย AD เมื่อผู้เชี่ยวชาญโรคสมองเสื่อมตรวจคะแนน CDT โดยที่ผู้ป่วย AD ทำคะแนนทดสอบได้ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่เสื่อมถอยเล็กน้อยในการรับรู้ (Mild cognitive impairment : MCI)

ผู้สูงวัยที่มิได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมแต่ทำคะแนน CDT ค่อนข้างแย่ จะเป็นตัวพยากรณ์ (Predictive) ที่ดีของพัฒนาการของโรคสมองเสื่อมในบั้นปลายของชีวิต อย่างไรก็ตาม พึงสังเกตว่า ไม่มีอะไรพิเศษเกี่ยวกับวาดภาพนาฬิกาโดยตัวมันเอง (Per se) แต่โดยทั่วไปมิติสัมพัทธ์มักย่ำแย่ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม และโดยเฉพาะผู้ป่วย AD

เรามักพบความไม่สมบูรณ์ (Deficit) ในทักษะหลากหลาย (Diverse) ตั้งแต่การคัดลอกจนถึงความทรงจำ ส่วนปัญหาก็มิใช่เกิดขึ้นในระดับที่ค่อนข้างซับซ้อน (Complex) ของการประมวล (Processing) ข้อมูลเท่านั้น ตัวอย่างเช่น นักวิจัยแสดง (Demonstrate) ให้เห็นว่าผู้ป่วย AD แสดงอาการเสื่อมถอยในกระบวนการขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะการทำงานของความอ่อนไหวจากการเปรียบเทียบความแตกต่าง (Contrast sensitivity function)

นอกจากนี้ นักวิจัยอีกคนหนึ่งยังค้นพบว่า ตามมาตรวัดการทดสอบสีที่มองเห็น (Color vision test) ผู้ป่วย AD ทำคะแนนทดสอบได้ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้เข้าร่วมวิจัยวัยใกล้เคียงกันภายใต้การควบคุม (Age-matched controls) อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจก็คือการค้นพบว่า ระดับของความไม่สมบูรณ์มิได้ขึ้นอยู่กับ (Independent) ระดับของสมองเสื่อม (Degree of dementing decline)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Visuospatial function - https://en.wikipedia.org/wiki/Visuospatial_function [2020, February 4].