จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 249 ทักษะด้านภาษา (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 22 มกราคม 2563
- Tweet
ผลปรากฏว่า การนำเสนอสไลด์ทำให้การระลึกถึงเหตุการณ์ชีวประวัติของตนเอง (Auto-biographical event) ดีขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดในทางปฏิบัติอย่างเห็นเด่นชัดในการปรับตัว (Adaptation) การศึกษาของนักวิจัย และกิจกรรมถ่ายภาพเป็นประจำก่อให้เกิดประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) อย่างไรก็ตาม ความคิด (Idea) นี้น่าสนใจและอาจวิวัฒนาเป็นเครื่องช่วย (Aid) ความทรงจำที่ปฏิบัติได้ (Workable)
หนึ่งในมาตรวัด (Measure) ที่สามัญที่สุดของทักษะด้านภาษา (Linguistic) คือการเอ่ยชื่องานที่ผู้ป่วยต้องระบุ (Identify) วัตถุสามัญ การไม่สามารถระบุชื่อ (Anomia) วัตถุเป็นอาการแรกของโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) และผู้ป่วยก็ด้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด (Notably disadvantaged) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มิได้เป็นโรคสมองเสื่อม (Non-dementing control), ผู้ป่วยโรคฮันติงตัน (Huntington’s disease), ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease : PD), และ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia : VaD)
แม้จะมีการศึกษาที่ชี้ชัดถึงผลลัพธ์ตรงกันข้าม (Reverse) ดูเหมือนว่า คำกริยา (Verb) จะยากกว่าที่จะเอ่ยถึง เมื่อเปรียบเทียบกับคำนาม (Noun) อาจเป็นเพราะคำกริยามีความซับซ้อนมากกว่าในมิติของความหมาย (Semantic) และยากกว่าที่จะประเมิน นักวิจัยพบความสามารถในการเอ่ยชื่อวัตถุจากเสียง จะยากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับรูปภายนอกที่มองเห็นได้ (Visual appearance)
นอกจากนี้ ความสามารถในการเอ่ยชื่อจากแหล่งที่ได้ยิน (Auditory sources) จะมีสหสัมพันธ์ที่ดีกว่ามาตรวัดอื่นๆ ของการเสื่อมถอยในโรคสมองเสื่อม ซึ่งอาจมีความแปรปรวน (Variability) อย่างมาก ระหว่างผู้ป่วย AD ด้วยกัน ในเรื่องประเภทของชื่ออันยากที่จะระลึกได้ (Retrieve) จากความจำ
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้โต้เถียงว่า ในเชิงคุณภาพ (Qualitative) แล้ว รูปแบบโดยรวมของการเปลี่ยนแปลงในทักษะของการเรียกชื่อ (Naming skill) ในผู้ป่วย AD ไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่มิได้เป็นโรคสมองเสื่อมผู้มีอายุเดียวกัน เป็นที่รับรู้กันก่อนหน้านี้ในวรรณกรรม “กวาดส่องสมอง” (Brain scan) ว่า ทักษะด้านภาษามีความสัมพันธ์กับสมองฝ่อ (Brain atrophy) ประจักษ์หลักฐานเมื่อไม่นานมานี้ แสดงว่าปัญหาหลักคือการเสื่อมถอยของบูรณภาพ (Integrity) ของบริเวณ (Region) ขมับส่วนกลาง (Medial temporal) ในสมอง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านภาษามิได้ถูกจำกัด (Refined) อยู่เพียงไม่สามารถระบุชื่อได้และปัญหาที่สัมพันธ์กับความหมาย โดยทั่วไป ทักษะด้านภาษาจะแย่ลงเมื่อ AD ได้ดำเนินไป เหยื่อในขั้นต้น (Early victim) จะเป็นความเข้าใจ (Comprehension) ของภาษาที่ไม่ตรงไปตรงมา (Non-literal) อาทิ คำพังเพย (Proverb) และคำอุปมาอุปไมย (Metaphor) แม้ว่าประจักษ์หลักฐานในเชิงปฏิบัติ (Empirical) ยังมีกระจัดกระจาย (Sparse) ในการสูญเสียความเข้าใจในขั้นปลายของโรคสมองเสื่อม
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Aging and Language Production - https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2293308/ [2019, January 21].