จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 248 ความทรงจำในโรคสมองเสื่อม (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-248

      

อาจไม่เป็นที่ประหลาดใจที่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) มีการรับรู้ค่อนข้างจำกัด (Impoverished) เกี่ยวกับตนเองในความทรงจำและในความสามารถที่จะเดินทาง (Travel) กลับไปหาอดีตผ่าน (Experience) ความทรงจำ ไม่ว่าจะมี “ความลาดชั่วขณะ” (Temporal gradient) [ความทรงจำชั่วขณะหนึ่งของชีวิตที่ระลึกได้ดีกว่าชั่วขณะอื่น] หรือไม่เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เนื่องจากงานวิจัยหลายชิ้นได้ค้นพบสิ่งที่ขัดแย้งกัน (Conflicting findings)

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความไม่แน่นอน ผลจากการทำงาน (Task performance) ของความทรงจำในเรื่องชีวประวัติของตนเอง (Auto-biographical memory) ดูเหมือนจะเป็นเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ (Diagnostic tool) ที่แปรผันอย่างสมเหตุผล (Reasonably sensitive) ในการวัดความรุนแรง (Severity) ของโรคสมองเสื่อม (Dementia) ในผู้ป่วย

กลุ่มนักวิจัยอธิบาย (Attribute) การเสื่อมลงของความทรงจำในชีวประวัติของตนเองในผู้ป่วย AD ว่าเป็นปัญหาของการระลึกได้ (Retrieval) ซึ่งเชื่อมโยงไปยังความล้มเหลวของสมองส่วนบริหารกลาง (Central executive) ที่สะท้อน (Echo) บทสรุปของนักวิจัยอีกรายหนึ่ง

ความวิตกกังวล (Anxiety) อาจมีผลกระทบ โดยนักวิจัยค้นพบว่า การเล่นดนตรีที่อ่อนหวาน (Soothing) สามารถลด (Lower) ระดับความตึงเครียด และเพิ่มการระลึกได้ในผู้ป่วย AD อย่างมีนัยสำคัญ ในงานที่เกี่ยวกับความทรงจำของชีวประวัติตนเอง การศึกษาเหล่านี้ ก่อให้เกิดคำถามว่า ปัญหาความทรงจำในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสามารถบรรเทา (Alleviated) ได้จริงหรือ?

แน่ล่ะ ในบางหัตถการ (Procedure) อาจช่วยได้ ตัวอย่างเช่น การบอกให้ผู้ป่วยรู้แต่แรก (Priming) ถึงอักษรแรกของรายการที่พึงจำ (To-be-remember : TBR) อาจให้ผล (Produce) ที่ดีขึ้นเกินสัดส่วนที่ควร (Disproportionate) ในความทรงจำของผู้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม แต่การบอกให้รู้แต่แรกด้วยคำที่มีความหมาย (Semantic) ซึ่งสัมพันธ์กัน ไม่มีผลกระทบในเชิงประโยชน์ (Advantageous effect) ต่อผู้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม แม้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงวัยที่มิได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม

นักวิจัยอธิบายการศึกษากรณีใหม่ (Novel case) ซึ่งผู้ป่วย AD ได้รับการจัดแจงให้อยู่ในบรรยากาศ (Ambient) ของบ้านที่แสดง (Display) ฉาก ดนตรี และการเล่าเรื่อง (Narrative) ของชีวิตวัยต้นของผู้ป่วย การรักษาพยาบาลนำไปสู่การเพิ่มคะแนนทดสอบที่เกี่ยวกับความไม่แยแส (Apathy) และอัตลักษณ์ (Self-identity)

แต่ก็มิได้มีอิทธิพล (Influence) อย่างมีนัยสำคัญต่อความทรงจำในเรื่องชีวประวัติของตนเอง (Auto-biographical), ทักษะการรับรู้ทั่วไป, หรือระดับความวิตกกังวล (Anxiety) และความซึมเศร้า (Depression) นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งรายงานการศึกษาผู้ป่วย AD พร้อมโทรศัพท์อัจฉริยะ (Smart phone) ที่พ่วงต่อด้วยสาย (Lanyard) เป็นเวลา 12 ชั่วโมงต่อวันตลอด 4 สัปดาห์ โดยที่โทรศัพท์ได้รับการโปรแกรมให้ถ่ายภาพทุกๆ 5 นาที แล้วทำเป็นสไลด์ที่นำเสนอต่อผู้เข้าร่วมวิจัย

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Memory change - https://www.healthline.com/health/memory-change#causes [2019, January 14].