จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 243 โรคสมองเสื่อมอื่นๆ (7)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 11 ธันวาคม 2562
- Tweet
นอกเหนือจากการจู่โจมของโรงคลุ้มคลั่ง ความแตกต่างสำคัญ ระหว่างโรคคลุ้มคลั่ง (Delirium) กับโรคสมองเสื่อม (Dementia) ก็คือผู้ป่วยโรคคลุ้มคลั่งจำนวนมากต้องทนทุกข์ทรมานจากการหยั่งเห็น (Perception) โลกรอบตัวที่ผิดเพี้ยนไป (Illusion) ซึ่งไม่พบบ่อยในผู้เป็นโรคสมองเสื่อม แม้จะมีการเข้าใจผิด (Mis-conception) ไปทั่วในเรื่องนี้
ช่วงสมาธิ (Attention span) สั้นในผู้ป่วยโรคคลุ้มคลั่ง ดำเนินไปอย่างค่อนข้างจำกัด ซึ่งตรงกันข้าม (อย่างน่าแปลกใจมาก) กับช่วงสมาธิสั้นในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม การทดสอบตรวจวิเคราะห์ก็เหมือนรายชื่อตรวจสอบ (Check-list) ของกลุ่มอาการ อย่างไรก็ตาม พึงสังเกตว่าโรคคลุ้มคลั่งอาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม เนื่องจากสภาวะรับรู้ที่อ่อนแอ, อาจติดต่อ (Contracted) ง่าย, และมีความรุนแรงที่หลากหลาย
โรคคลุ้มคลั่งในผู้ป่วยสูงวัย แสดงความน่าจะเป็นสูง (High probability) ของการเจ็บป่วยร้ายแรง และการตายที่คืบคลานเข้ามา (Imminent mortality) ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า ผู้ป่วยสูงวัยที่ป่วยเป็นโรคคลุ้มคลั่ง มีโอกาสเกือบ 75% ที่จะตายในปีต่อมา เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยควบคุมที่มิได้ป่วยเป็นโรคคลุ้มคลั่ง (Non-delirium control)
มีความแปรปรวนมาก (Considerable variability) ในการกะประมาณว่า แต่ละประเภทย่อย (Sub-type) ของโรคสมองเสื่อมมีอยู่ไปทั่ว (Prevalent) ได้อย่างไร? ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบตัวอย่างทดสอบ (Test sample) ของโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) บ่อยเป็น 4 เท่าเมื่อเปรียบเทียบโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia : VaD)
ยังมีนักวิจัยอื่นที่พบตัวอย่างอัตราส่วน AD : VaD เป็น 1.7 : 1 เมื่อนำกรณี AD เทียบเป็นสัดส่วน (Proportion) กับทุกประเภทของโรคสมองเสื่อม ประมาณการในวรรณกรรมการวิจัย แตกต่างกันจาก 40 ถึง 80% หรือมากกว่านั้น มีหลากหลายเหตุผลที่อธิบายความแปรปรวน ดังต่อไปนี้
- การตรวจวิเคราะห์ (Diagnosis) ในตัวผู้ป่วยที่ยังมีชีวิต (Living patient) อยู่ เกือบทั้งหมดโดยวิธี (Means) ของการตรวจสอบพฤติกรรม (Behavior exam) อย่างไรก็ตาม ประเภทย่อยอาจให้ผล (Produce) ที่เป็นพฤติกรรมรูปแบบ (Pattern) เดียวกัน
- ตัวเลข (Figures) ของอุบัติการณ์ (Incidence) มักนำมาจากหลากหลาย (Multiple) คลินิก ดังนั้นความแตกต่างในวิธีตรวจวิเคราะห์ และทักษะ อาจนำมาซึ่งการบิดเบือน (Distort) เช่นเดียวกับระดับการศึกษา และสติปัญญาของญาติผู้ให้ประวัติ (History) ¬ของผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีระดับสติปัญญาสูง และ/หรือ ทักษะภาษาดี มีแนวโน้ม (Prone) น้อยกว่าที่จะเป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia) หรือมีความสามารถเหนือกว่าในการซ่อนเร้น (Hide) โรค อย่างน้อยก็ในขั้นต้น (Early stage) ของการเกิดโรค
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Vascular dementiahttps://en.wikipedia.org/wiki/Vascular_dementia[2019, December 10].