จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 237 โรคสมองเสื่อมอื่นๆ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-237

      

      แม้ว่าโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) และโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia : VaD) เป็นกรณีที่เกิดขึ้นมากที่สุดของโรคสมองเสื่อม แต่ก็มีอีกเกือบ 50 สาเหตุอื่นเท่าที่ทราบ ดังตัวอย่างที่เคยพบต่อไปนี้

      Fronto-temporal dementia (FTD) (ตามที่ชื่อโรคสื่อคามหมาย) มีผลกระทบต่ออาณาบริเวณ (Region) ด้านหน้า (Frontal) และขมับ (Temporal) ของเปลือกสมอง (Cortex) แต่พบไม่บ่อย (Rare) ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่า จะมีกี่ประเภทกันแน่ อย่างไรก็ตาม โรคประเภทย่อย (Sub-type) ที่สามัญที่สุด (Commonest) เท่าที่ยอมรับกันทั่วไป คือ Pick’s disease (ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ)

      Pick’s disease มิใช่โรคสามัญในบั้นปลายของชีวิต การฝ่อ (Atrophy) ของสมองเริ่มต้นแล้วกระจุก (Concentrated) ในกลีบ (Lobe) สมองด้านหน้า ณ ระดับเซลล์ (Cellular level) เซลล์ประสาท (Neuron) มักจะเสื่อมถอย (Degenerate) เป็น Pick’s body ซึ่งเป็นร่างกายที่ปรากฏลักษณะบวม (Swollen appearance) แม้ว่าผู้ป่วยบางคนอาจมีรูปแบบ (Pattern) ของสมองฝ่อ แต่ปราศจากร่างกายบวมดังกล่าว

      ในครั้งแรก ผู้ป่วยมักประสบปัญหาที่คาดได้ (Expected) จากกลีบสมองด้านหน้าถูกทำลาย อาทิ การสูญเสียทักษะการวางแผน และความสามารถในการคิดเชิงนามธรรม (Abstract)

      ยังมีกลุ่มอาการแปรปรวนของพฤติกรรม (Behavioral variant) ของ FTD (bvFTD) ซึ่งแสดงออก (Manifest) ในช่วง (Course) แรกของโรค เปรียบเทียบกับช่วงหลังของ AD ซึ่ง bvFTD จะรวม (Incorporate) พฤติกรรมทางเพศที่หุนหันพลันแล่น (Impulsive) ด้วย โดยมักปราศจากความเหมาะสมของสังคม (Social propriety)

      เมื่อโรคดำเนินไป (Progress) กลุ่มอาการโรคสมองเสื่อม คล้ายกับ (Akin) AD จะเริ่มแสดงออก การด้อยความสามารถ (Impair) ทางภาษาจะเห็นเด่นชัดกว่าความทรงจำ แต่ก็มิใช่กฎเกณฑ์ที่ผิดพลาดไม่ได้ (Infallible) ผู้ป่วย Pick’s disease มีแนวโน้ม (Prone) ที่จะกุเรื่อง (Confabulate) กล่าวคือสร้าง (Make up) เรื่องเท็จ หรืออธิบายสิ่งที่ไม่น่าเชื่อ (Implausible) เพื่อปกปิด (Cover up) ช่องว่าง (Gap) ในความทรงจำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยพบใน VaD หรือ AD

      ในขั้นตอนสุดท้าย (Terminal stage) ผู้ป่วยจะลดการเจริญเติบโตลงจนอยู่ในภาวะผัก (Vegetative state) แล้วตายภายใน 4 ปีหลังการเริ่มต้น (Onset) ของกลุ่มอาการ อีกรูปแบบหนึ่งของ FTD คือการแปรปรวนตรงขมับ (Temporal variant) ของ FTD (tvFTD) โดยมีกลุ่มอาการเบื้องต้นที่เป็นผลมาจากการเริ่มฝ่อของกลีบขมับด้านซ้าย อันเป็นสาเหตุให้ทักษะภาษาถดถอยลง (Deteriorate) ในขณะที่การฝ่อของกลีบขมับด้านขวาเป็นสาเหตุของการสูญเสียการรับรู้ใบหน้า (Facial recognition) และรับรู้อารมณ์ การฝ่อด้านหนึ่งจะนำไปสู่การฝ่ออีกด้านหนึ่งในที่สุด แล้วกลุ่มอาการก็วิวัฒนาต่อไปในลักษณะที่คล้ายกับ Pick’s disease

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Vascular dementia - https://en.wikipedia.org/wiki/Vascular_dementia [2019, October 29].
  3. Pick’s disease - https://en.wikipedia.org/wiki/Pick%27s_disease [2019, October 29].