จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 234 โรคอัลไซเมอร์ส (7)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-234

      

      อย่างน้อยก็มีประจักษ์หลักฐานชั่วคราว (Tentative evidence) ว่า การลดลงของอัตราตายจากอัมพฤกษ์ (Stroke) และโรคหัวใจในสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการลดลงของโรคสมองเสื่อม (Dementia) และการเสื่อมถอยในการรับรู้อย่างอ่อน (Mild cognitive impairment)

      ในไม่กี่ปีมานี้ นักวิจัยเสนอแนะ (Suggest) ว่า มีแนวโน้มที่อลูมิเนียม (Aluminum) อาจเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) เนื่องจากมีการค้นพบว่า เซลล์สมองในผู้ป่วย AD ประกอบด้วยเม็ดเล็กๆ (Tiny grain) ของโลหะ (Metal) และเป็นที่รับรู้กันมากว่าร้อยปีแล้วว่า พิษภัย (Poisoning) จากอลูมิเนียม เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการที่คล้าย (Akin) มากกับ AD

      และผู้คนที่กังวลมากในเรื่องนี้ ได้หยุดใช้อุปกรณ์ปรุงอาหาร (Cooking utensil) ที่เป็นอลูมิเนียม เนื่องจากอลูมิเนียม เป็นธาตุสามัญ (Common element) มากที่ปรากฏ (Present) อยู่ในอาหารธรรมชาติ (Natural foodstuff) แม้จะดูเหมือนเป็นข้อสรุปที่ไร้ประโยชน์ (Futile) แต่คำถามว่า ทำไมผู้ป่วย AD จึงเปราะบาง (Vulnerable) มากต่ออลูมิเนียมโดยเฉพาะ? ยังเป็นสิ่งลึกลับ (Mystery) อยู่

      อาจเป็นไปได้ว่า การดูดซึมเข้าเนื้อเยื่อ (Uptake) ของอลูมิเนียม เป็นอาการมากกว่าเป็นสาเหตุของความเสื่อมถอย (Decline) ตัวอย่างเช่น เซลล์ที่กำลังตายภายในสมองของผู้ป่วย AD อาจบังเอิญ (Just happen) ดูดซึมอลูมิเนียม แทนที่อลูมิเนียมเป็นสาเหตุการตายของเซลล์

      นักวิจัยค้นพบว่า ความพยายามที่จะจำกัด (Restrict) การดูดซึมของอลูมิเนียมเข้าเนื้อเยื่อของสมองในผู้ป่วย AD ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนิน (Progression) ของการเจ็บป่วย (Illness) แต่การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ เสนอแนะว่า อลูมิเนียมมีบทบาท (Role) ในการก่อร่าง (Formation) ของรอยหยักเส้นใยประสาท (Neuro-fibrillary tangle)

      ข้อเสนอ (Proposal) อีกข้อหนึ่งก็คือ การเจ็บป่วยซึ่งมีสาเหตุจากไวรัสที่ออกฤทธิ์ช้า (Slow-acting virus) อันเป็นที่รับรู้กันว่า การเจ็บป่วยจากสมองเสื่อม อาทิ โรคคูรู (Kuru) ซึ่งเป็นความผิดปรกติร้ายแรงของประสาทเสื่อม (Fatal neuro-degenerative disorder) ที่ไม่ค่อยพบบ่อย (Rare) แต่มีผลกระทบต่อบรรพบุรุษ (Fore people) ของเผ่าพื้นเมือง (Native tribe) ในปาปัวนิกินี (Papua New Guinea) อาจแก้ไขได้ด้วยการจัดการ (Handle) กับเนื้อเยื่อประสาทที่เป็นโรค (Diseased nervous tissue)

      นอกจากนี้ การที่ศีรษะถูกกระแทกอย่างรุนแรง (Severe blow) ในบางกรณี ก็อาจนำไปสู่ AD ได้ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป ประจักษ์หลักฐานที่มีอยู่ไม่อาจสรุป (Inconclusive) หรือสรุปผลอย่างมั่นใจ (Firm conclusion) ในสาเหตุของ AD และการโต้แย้งอย่างแข็งขัน (Rigorous debate) พร้อมๆ กับการวิจัยใหม่ๆ ก็ยังคงดำเนินต่อไป

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Alzheimer’shttps://en.wikipedia.org/wiki/Alzheimer%27s_disease[2019, October 8].
  3. Kuru (disease) https://en.wikipedia.org/wiki/Kuru_(disease) [2019, October 8].