จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 232 โรคอัลไซเมอร์ส (5)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 25 กันยายน 2562
- Tweet
ผู้ใหญ่สูงวัยที่มีระดับการศึกษาสูง มีแนวโน้มที่จะไปรับการรักษาพยาบาล (Present for treatment) แต่เนิ่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่สูงวัยที่มีการศึกษาต่ำ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีกลุ่มอาการที่เห็นเด่นชัด (Pronounced symptoms) เมื่อไปรับการรักษาพยาบาลเป็นครั้งแรก
ผู้คนที่มีระดับการศึกษาสูง มีแนวโน้มที่จะชาญฉลาด (Intelligent) กว่า และมีส่วนร่วมในกิจกรรมประเทืองปัญญา ดังนั้น ผลกระทบของโรคสมองเสื่อม (Dementia) จึงมีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับ (Recognized) ว่า ผิดปรกติ (Atypical) ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งช่วยอธิบายการค้นพบเกี่ยวกับความทรงจำที่มีแนวโน้มอย่างมีนัยสำคัญว่าเป็นลางสังหรณ์ (Harbinger) ของ AD
ผู้ใหญ่สูงวัยที่มีระดับการศึกษาต่ำ อาจไม่มีความรู้ที่จะแยกแยะ (Distinguish) ระหว่างชราภาพตามธรรมดากับสมองเสื่อมแต่เริ่มแรก ดังนั้น จึงไม่กังวลเกี่ยวกับกลุ่มอาการจนกระทั่งเริ่มเห็นเด่นชัด
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เป็นประโยชน์ (Beneficial) ของการศึกษา อาจอ้างอิง (Claim) ได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า ณ เวลาที่ตาย ผู้ใหญ่สูงวัยที่มีกลุ่มอาการทางประสาทวิทยา (Neurological symptoms) ของโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) แต่ตลอดชีวิต (Life-time) ก่อนหน้านี้ อาจไม่มีความบกพร่องในการรับรู้ (Cognitive deficit)
นักวิจัยอธิบาย (Attribute) กรณีนี้ว่าเป็นการสำรอง (Reserve) การรับรู้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้มีการศึกษาสูงว่า จะมีอำนาจประมวลเหลือเฟือ (Surplus processing power) หมายความว่า ต้องมีการเสื่อมถอย (Decay) มากพอ ก่อนที่สำรองส่วนเกิน (Extra) นี้ จะถูกใช้ไปหมด และผลกระทบทางจิต เริ่มจะเป็นที่สังเกตเห็น (Noticeable)
และก็เป็นไปได้ว่าผู้มีการศึกษาสูงมีตัวช่วยงานรับรู้ (Cognitive task) กล่าวคือความสามารถในการวิเคราะห์พฤติกรรม (Heuristics) ทำให้เบาเทา (Lessen) ความยากของงาน จากผลกระทบของโรคสมองเสื่อมได้ยาวนานขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการศึกษาสูงทำให้ผู้คนสามารถปิดบังหรือซ่อน (Mask) ปัญหาได้
ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใด การวิจัยส่วนมากพบว่าระดับการศึกษามีผลกระทบที่เป็นประโยชน์ อย่างน้อยในขั้นตอนแรกเริ่มของ AD นักวิจัยพบว่า การมีอาชีพที่ต้องใช้สติปัญญามาก สร้าง “ภูมิคุ้มกัน” ได้มาก อย่างไรก็ตาม ก็มีบางงานวิจัย ที่ไม่พบผลกระทบของระดับการศึกษา ซึ่งอาจเกิดจากความแปรปรวนที่จำกัด (Limited variability) ในตัวอย่าง (Sample) ของงานวิจัยนั้น
นอกจากนี้ ผลกระทบที่เป็นประโยชน์ (Advantageous) จากระดับการศึกษา อาจขาดหายไป (Absent) เมื่อบรรลุขั้นตอนสุดท้ายของ AD นักวิจัยเสนอแนะว่า ในขั้นตอนแรกเริ่มของการเจ็บป่วย ทักษะการทดสอบ (Test-taking skill) หรือสำรองการรับรู้ (Cognitive reserve) อาจอธิบายความแตกต่างได้ แต่ในขั้นตอนสุดท้ายของการเจ็บป่วย ทักษะดังกล่าวได้เสื่อมสลาย (Decay) ไปนานแล้ว
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Alzheimer’shttps://en.wikipedia.org/wiki/Alzheimer%27s_disease [2019, September 24].