จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 230 โรคอัลไซเมอร์ส (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-230

      

      2 สถาบันดังกล่าวได้ร่วมกันกำหนด (Jointly devise) โครงงาน (Scheme) ให้มี 3 ระดับของความแน่นอน (Certainty) กล่าวคือ “น่าจะเป็น” (Probably) “เป็นไปได้” (Possible) และ “แน่ชัด” (Definite) การตัดสินใจ (Judgement) ขั้นสุดท้าย จะอ้างอิงหลักฐานพิสูจน์ทางสรีรวิทยา (Physiological proof) จากการตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) หรือการชันสูตรศพ (Autopsy)

      นักวิจัยส่วนมากพอใจ (Content) ที่ระดับ “น่าจะเป็น” ในการตรวจวิเคราะห์ ในขณะที่ต้องมีการพิสูจน์การด้อยความสามารถในการทำงาน (Functional disability), การสูญเสียความจำ (Memory loss), ความบกพร่องในการรับรู้ และการปราศจากดัชนีชี้วัด (Absence of indicators) ของสาเหตุอื่น อาทิ เนื้องอก (Tumor) และอาการคลุ้มคลั่ง (Delirium)

      การวิเคราะห์นี้เป็นการสรุปทางอ้อม (Default) กล่าวคือ มาตรวัด (Measure) ที่ใช้มิได้ตรวจวิเคราะห์ AD โดยตรง แต่ใช้วิธีการขจัด (Rule out) ความเป็นไปได้ที่ไม่มีโรคอื่นที่สอดคล้อง (Fit) กับกลุ่มอาการดังกล่าวได้ดีกว่า

      สิ่งตีพิมพ์รุ่นเก่าได้จำกัด (Restrict) การใช้คำว่า AD เฉพาะกรณีที่เกิดขึ้นก่อนอายุ 60 ปี แล้วใช้คำว่า “ความจำเสื่อมวัยชรา” (Senile dementia) อธิบายแทน เมื่อโรคนี้เกิดขึ้นในกรณีที่มีอายุหลัง 60 ปี แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้ กล่าวคือ ในปัจจุบัน ไม่มีความแตกต่าง ระหว่างกรณีก่อนวัย 60 ปีกับหลัง 60 ปี ในเรื่องการจู่โจม (Onset) จาก AD

      ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการจู่โจมจาก AD แต่เนิ่นๆ มักมีความเสี่ยงของการตาย (Mortality) ที่สูงกว่า และมีแนวโน้มโดยทั่วไปมากกว่า ที่จะมีสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดเป็นโรคนี้ด้วย โดยทั่วไป ผู้ได้รับการจู่โจมจาก AD แต่เนิ่นๆ มักมีกลุ่มอาการที่เห็นเด่นชัด (Pronounced) โดยเฉพาะความบกพร่องทางภาษา (Linguistic deficit) แล้วดำเนินไป (Progress) ในอัตราที่รวดเร็วกว่า อย่างไรก็ตาม การจู่โจมจาก AD แต่เนิ่นๆ หรือในบั้นปลาย ต่างก็เป็นโรคเดียวกันโดยพื้นฐาน (Fundamental)

      ณ ระดับเซลล์ สมองของผู้ป่วยที่เป็น AD มักมีลักษณะพิเศษ (Characteristics) หลัก อยู่ 2 ประการ ประการแรกคือ “คราบชราภาพ” (Senile plaque) ที่มีจำนวนมากของก้อนโปรตีนเล็กๆ (Tiny lumps of protein) ที่พบอยู่ระหว่างเซลล์ประสาท (Neuron) ผู้สูงวัยเกือบทุกคนมีคราบดังกล่าว แต่พบมากในผู้ป่วย AD

      ประการที่ 2 คือ การพัวพันของเส้นใยประสาท (Neuro-fibrillary tangle) โดยที่แกนประสาท (Axon) ยึดโครงสร้างบางส่วนไว้ด้วยโปรตีน (Protein) แต่โปรตีนนี้ถูกบิดเบือน (Distorted) ใน AD อันนำไปสู่แกนประสาทถูกบิดเบือน จนเกิดการพัวพันของเส้นใยประสาท ซึ่งในที่นี้หมายถึงปราศจากการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทที่ได้รับผลกระทบ

      นักวิจัยไม่แน่ใจว่า คราบโปรตีนและการพัวพันของเส้นใยประสาท เป็นสาเหตุรากเหง้า (Root cause) ของกลุ่มอาการที่พบใน AD หรือเพียงผลพลอยได้ (By-product) ของกระบวนการที่ลึกซึ้งลงไปอีก อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันแน่ชัดว่า คราบโปรตีนและการพัวพันของเส้นใยประสาท มีสหสัมพันธ์ (Correlate) กับบางกลุ่มอาการทางจิตวิทยา

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Alzheimer’shttps://en.wikipedia.org/wiki/Alzheimer%27s_disease [2019, September 10].