จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 227 โรคสมองเสื่อม (5)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 21 สิงหาคม 2562
- Tweet
ความเจ็บป่วยเหล่านี้ได้รับการประเมินในเรื่องผลกระทบจากการทำงานในระดับอ่อน (Mild) โดยไม่ต้องเฝ้าติดตาม (Supervision), ปานกลาง (Moderate) โดยมีการเฝ้าติดตามบ้าง, หรือ รุนแรง (Severe) โดยต้องมีการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ตลอดเวลา (Constant)
เป็นที่น่าสังเกตว่า อุบัติการณ์ (Incidence) ของการก่อกวน (Agitation) เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นรายบุคคล (Individualized) นักวิจัยพบว่า ประมาณ 60% ของผู้ป่วยแสดงออก (Exhibit) ให้เห็น แม้จะมีนิยามที่หลากหลาย คำ (Term) นี้หมายถึงกลุ่มอาการที่คัดมาจากกลุ่มพฤติกรรมที่ก่อกวน
พฤติกรรมดังกล่าวได้แก่ ก้าวร้าว ทั้งกายภาพและวาจา (Verbal), การขาดความร่วมมือ (Cooperativeness), การตะโกน (Shouting), การไขว่คว้า (Grabbing), และกระสับกระส่าย (Restless) ระดับของการรับรู้ความเสื่อมถอยดูเหมือนจะเป็นตัวพยากรณ์หลัก (Principal predictor)
นักวิจัยพบว่า ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้เข้าร่วมวิจัย แสดงการก่อกวนในช่วงเวลาต่อมาของวัน มีการเสนอแนะวิธีการมากมายของการลดระดับพฤติกรรมก่อกวน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ฝึกฝนผู้ให้การดูแลผู้ป่วย สนองตอบ (Respond) ต่อผู้ป่วยในหนทางที่เหมาะสม (Appropriate) รวมทั้งการกล่าวชม
- ให้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในสถานพยาบาล (Institutionalized) ทำงานในโครงการสวนในที่ร่ม (Indoor gardening)
- การบำบัดด้วยแสงสว่างไสว (Bright-light therapy)
- กิจกรรมกดจุด (Acupressure) และบนพื้นฐานของมอนเท็สซอรี (Montessori) [ชื่อของแพทย์หญิงนักวิจัยการศึกษาผู้สนับสนุนวิธีการให้เด็กค้นพบด้วยตนเองด้วยคำแนะนำ (Guidance) เพียงเล็กน้อยจากครู]
- เพิ่มกิจกรรมกายภาพ
- ฟังดนตรีที่โปรดปราน และนวดด้วยมือ
อย่างไรก็ตาม ไม่มีวิธีเดียวที่ดูเหมือนว่าจะได้ผลเต็มที่ (Totally effective) และผู้ป่วยบางคนดูเหมือนจะมีแรงต้าน (Resistant) ต่อการแทรกแซง (Intervention) พฤติกรรม ในกรณีเช่นนั้น การบำบัดด้วยยา (Drug therapy) อาจเป็นทางออกเดียวที่น่าเชื่อถือ (Plausible)
ประเภทหลากหลายของโรคสมองเสื่อม (Etiology) ล้วนมีคุณลักษณะ (Characteristics) ทั่วไปที่คล้ายกัน ดังอธิบายก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม การเสื่อมถอยทั่วไปภายในกลุ่มนี้ ต่างมีรูปแบบ (Pattern) ที่โดดเด่นของการทำงานอันผิดปรกติ (Dysfunction) โดยที่รูปแบบหลักของโรคสมองเสื่อมคือ อัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s)
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Dementia - https://en.wikipedia.org/wiki/Dementia [2019, Aug 13].