จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 226 โรคสมองเสื่อม (4)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 14 สิงหาคม 2562
- Tweet
ในขั้นตอนที่ 3 ความเสื่อมถอยทางสติปัญญา (Intellectual impairment) โดยเฉพาะความทรงจำ เห็นได้ชัดในงานที่ซับซ้อน (Complex task) ซึ่งไม่เป็นปัญหาก่อนหน้านั้น และในขั้นตอนที่ 4 ประเด็นนี้ได้ขยายขอบเขตในงานที่ค่อนข้างซับซ้อนขึ้นทุกวี่วัน อาทิความสามารถในการจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ
ขั้นตอนที่ 5 ได้รับการนิยามว่าเป็น “ผลงานที่บกพร่อง” (Deficient performance) ในการเลือกเสื้อผ้าอาภรณ์ (Clothing) แล้วสวมใส่ และในขั้นตอนที่ 6 ผู้ป่วยไม่มีความสามารถอีกต่อไปในการแต่งตัว และดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล (Personal hygiene) ขั้นตอนนี้ได้รับการแบ่งอีกเป็น 5 ขั้นตอนย่อยตามลำดับสูง-ต่ำ (Hierarchical) เป็นช่วง (Range) จากปัญหาการแต่งตัวไปจนถึงความไม่สามารถกลั้นอุจจาระ (Fecal incontinence)
ขั้นตอนที่ 7 อธิบายความสูญเสียของทักษะการเคลื่อนไหว (Motor) และการพูด (Speech) พร้อมกับการซอยให้เป็น 6 ขั้นตอนย่อย ซึ่งเริ่มต้นด้วยการสูญเสียการพูด ไปจนถึงการสูญเสียความสามารถในการชูศีรษะขึ้น มีการกะประมาณช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะคงอยู่ในขั้นตอนเฉพาะ ถ้าเขาไม่ตายในช่วงดังกล่าวเสียก่อน ดังนี้
• ขั้นตอนที่ 3 = 7 ปี
• ขั้นตอนที่ 4 = 2 ปี
• ขั้นตอนที่ 5 = 18 เดือน
• ขั้นตอนที่ 6 = 2 ปี 5 เดือน
• ขั้นตอนที่ 7 = 6 ปี+
มีการประเมินผล (Assessment) ที่ง่ายกว่าเล็กน้อย ชื่อ “การประเมินโรคสมองเสื่อมทางการแพทย์” (Clinical Dementia Rating : CDR) ซึ่งเป็นรายชื่อตรวจสอบ (Check-list) ระดับการทำงาน (Functioning) ของงานที่หลากหลาย (Variety of tasks) อาทิ ความทรงจำ แนวโน้ม (Orientation) และพฤติกรรมในบ้าน
บนพื้นฐานเหล่านี้ ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินจากไม่มีโรคสมองเสื่อม หรือในรูปแบบความเจ็บป่วยที่ น่าสงสัย (Questionable), อย่างอ่อน (Mild), อย่างปานกลาง (Moderate), หรืออย่างรุนแรง (Severe)
สิ่งตีพิมพ์อันทรงอิทธิพลมาก (Highly influential) ของสมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychiatric Association : APA) คือประเภทของโรคทางจิต (Taxonomy of mental illnesses) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า นอกเหนือจากความเสื่อมถอยในทางการหยั่งเห็น (Perceptual) สติปัญญา (Intellectual) และ/หรือ ความทรงจำ ซึ่งมากพอที่จะแทรกแซง (Interfere) กิจกรรมประจำวันแล้ว จะต้องมีเงื่อนไขว่า ผู้ป่วยตื่นตัวอยู่ (Awake) และไม่มีหลักฐานของการมึนเมา (Intoxication) จากการเสพยาหรือแอลกอฮอล์
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Dementia - https://en.wikipedia.org/wiki/Dementia [2019, Aug 13].