จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 222 : สุขภาพจิตในบั้นปลายของชีวิต (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-222

      

      มีผู้แยกแยะความแตกต่าง (Distinction) ระหว่าง MCI (= Mild cognitive impairment) กับ CIND (= Cognitive impairment, not dementia) ว่า CIND อธิบายทุกกรณีของมีผลทดสอบห้องปฏิบัติการ (Laboratory test) อย่างเด่นชัด ของความเสื่อมถอยในการรับรู้ ไม่ว่าผู้นั้นต้องการความใส่ใจจากแพทย์ (Medical attention) หรือไม่ ส่วน MCI สงวนไว้ (Reserved) สำหรับผู้ที่ต้องการความใส่ใจจากแพทย์ และสามารถวัดผลได้อย่างเที่ยงตรง (Objectively measured)

      ไม่ว่านิยามจะสวยหรู (Nicety) แค่ไหน MCI และสภาวะที่สัมพันธ์กัน (Related conditions) ก็เป็นที่สนใจของแพทย์ (Clinician) แม้ว่าบางครั้งจะน่าเบื่อ (Irksome) MCI โดยนิยามของมันเอง ไม่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนมาก ซึ่งได้วิวัฒนา MCI และยังคงหลงลืมบ้าง (Slightly forgetful) และสับสนเป็นบางครั้ง (Occasionally confused)

      อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการรับรู้ (Cognitive ability) ของเขาเป็นสิ่งที่ไม่ถูกแตะต้อง (Intact) จนเขายังคงสนุกสนานกับในวันที่เหลืออยู่ แต่สำหรับบางคน อาการ MCI เลวร้ายลงจนเกิดโรคสมองเสื่อม (Dementia) แนวโน้มของการวิวัฒนาโรคสมองเสื่อมจาก MCI ยังไม่แน่ชัด เนื่องจากนานานักวิจัยมักใช้ระบบวัดผลที่แตกต่างกัน

      นักวิจัยบางคนมองโลกในแง่ร้าย (Pessimistic) โดยพบว่า กรณีใหม่ของ CIND มีจำนวนมากกว่า (Outnumber) โรคสมองเสื่อม ในสัดส่วน 2 : 1 อย่างไรก็ตาม การศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) 6 ปี นักวิจัยพบว่า ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ที่มี CIND ลงเอยด้วยการแสดงอาการของโรคสมองเสื่อม

      ไม่ว่าตัวเลข (Figure) สุดท้ายที่ถูกต้องจะเป็นอะไร ประจักษ์หลักฐานปัจจุบัน แสดงว่า MCI เป็นผลิตผล (Product) ของการเจ็บป่วย (Sickness or injury) และสภาวะอื่นที่สัมพันธ์กัน ปรากฏใน 2 รูปแบบ รูปแบบแรกเมื่อ MCI คงอยู่แล้วในโรคสมองเสื่อมในช่วงขั้นต้น (Prodromal stage) รูปแบบที่ 2 MCI เป็นผลผลิตของการเจ็บป่วย และมีแนวโน้มที่จะวิวัฒนาต่อไป

      สาเหตุมีหลากหลาย (Numerous) ตัวอย่างเช่น การศึกษาแหล่งกำเนิด (Origin) ของ CIND ระบุสาเหตุอันรวมถึงกระดูกสะโพกหัก (Hip fracture) และการกินยารักษาด้วยยาเชิงซ้อน (Multiple drug treatment) และจะเป็นประโยชน์ หากสามารถค้นหา “อาการปีนเขม่า” (Smoking-gun symptom) ได้

      อาการดังกล่าวแสดงอย่างแจ้งชัด (Unambiguous) ถึงการเจ็บป่วยเท่านั้น ซึ่งในกรณีนี้ หากค้นพบอาการ MCI/CIND ในผู้คนที่ได้วิวัฒนาโรคสมองเสื่อม ก็จะเป็นเครื่องมือวินิจฉัย (Diagnostic tool) ที่มีประโยชน์อย่างวิเศษ (Fantastically useful)

      อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีใครยืนยันการพบอาการดังกล่าว แม้มีนักวิจัยที่สังเกตความล้มเหลวอย่างเด่นชัด (Pronounced failure) ของการรื้อฟื้นความทรงจำ (Memory retrieval) ว่าเป็นตัวพยากรณ์ (Predictor) ที่ดีแต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ในการวิวัฒนาโรคสมองเสื่อม

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. WHO Mental health of older adults - https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults [2019, July 16].