จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 221 : สุขภาพจิตในบั้นปลายของชีวิต (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 10 กรกฎาคม 2562
- Tweet
ผู้สูงวัยมีแนวโน้มที่จะทนทุกข์ทรมาน (Suffer) จากปัญหาสุขภาพจิต (Mental health) มากกว่ากลุ่มอายุอื่น ในทุกสภาวะ (Conditions) ผู้สูงวัยจะเผชิญกับความเสื่อมลง ยกเว้นการรับรู้ที่ถดถอย (Cognitive impairment) นี่มิได้หมายความว่า เราอาจเพิกเฉย (Dismiss) ประเด็นทางด้านสุขภาพจิตในบั้นปลายของชีวิต
อันที่จริงแล้ว มันเป็นปัญหาที่ร้ายแรงมาก สำหรับทุกวัย แต่ในผู้สูงวัย อาจทบยอด (Compounded) ด้วยสุขภาพที่แย่ลง และทักษะทางเชาว์ปัญญา (Intellectual) ที่เสื่อมลง จำนวนของสภาวะเรื้อรัง (Chronic) ที่บุคคลโดยเฉลี่ย (Average) ต้องทนทุกข์ทรมาน จะเพิ่มขึ้นตลอดช่วงอายุ (Life-span) ปัญหาจะทวีขึ้นในกลุ่มที่มีสถานะต่ำทางเศรษฐกิจ-สังคม (Socio-economic)
ปัญหาจะร้ายแรงยิ่งขึ้นเป็น 2 เท่า (Doubly jeopardy) เมื่อเชาว์ปัญญาและความทรงจำลดลง และเมื่อผนวกปัจจัยนี้เข้าไปในสมการ (Equation) จะพบว่า ปัญหาสุขภาพจิตที่ผู้สูงวัยต้องเผชิญ มีไม่น้อยทีเดียว จึงไม่เป็นสิ่งประหลาดใจ เมื่อพบว่าจำนวนวรรณกรรม (Literature) ในเรื่องสุขภาพในบั้นปลายของชีวิต มีมากมายก่ายกอง (Considerable)
การรับรู้ที่เสื่อมถอยลงเพียงเล็กน้อย (Mild cognitive impairment : MCI)เป็นสภาวะที่นักวิพากษ์วิจารณ์ อธิบายด้วยเหตุผล (Justifiably) ว่า เป็นพื้นที่สีเทา (Grey area) แต่ไม่เป็นที่สงสัย (Undoubtedly) เลยว่า การเสื่อมถอย (Decline) ดังกล่าวมีอยู่จริง (Exist) เพียงแต่การนิยามมันอย่างแม่นยำ (Precise) อาจทำได้ไม่ง่ายนัก
ผู้สูงวัยมักมีความทรงจำและทักษะการรับรู้อื่นๆ ที่แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่เยาว์วัย ข้อเท็จจริงนี้มีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อชีวิตประจำวันของผู้สูงวัยส่วนมาก อาทิ ความเชื่องช้าในการเรียนรู้การใช้โทรศัพท์มือถือ (Mobile phone) รุ่นใหม่ หรือการรื้อฟื้น (Retrieve) ความทรงจำถึงผู้คนที่ไม่ค่อยได้พบกัน เป็นสิ่งที่น่าเบื่อ (irksome)
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้สูงวัยในจำนวนสัดส่วน (Proportion) ไม่น้อย ปัญหานี้เป็นอุปสรรค (Handicap) ที่เลวร้าย แม้ในผู้สูงวัยที่ไม่มีปัญหาโรคสมองเสื่อม (Dementia) แต่ความทรงจำ และ/หรือ ทักษะการรับรู้ที่แย่ลงของเขา ก็เพียงพอที่เขาจะสังเกตเห็นความเสื่อมถอยในชีวิตประจำวัน
แต่ความเสื่อมถอยดังกล่าว มีไม่มากเกินไปจนการทำงานตามปรกติ (Normal function) ต้องสะดุดหยุดลง การสูญเสียความทรงจำ (Memory loss) ยังห่างไกลจากหยุด (Halt) ไปเลยของรับรู้ทั้งหมด เพียงแต่จะเชื่องช้าลงและด้อยประสิทธิภาพ แต่ยังไม่มีนิยามที่แม่นยำ (Precise) สำหรับการรับรู้ที่เสื่อมถอยลงเพียงเล็กน้อย (MCI) แต่มีคำอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันจนอาจทำให้สับสน (Confuse) อาทิ การหลงลืมอย่างอ่อนของชราภาพ (Benign senescent forgetful) การรับรู้ที่เสื่อมลงอย่างละมุนละม่อม (Very mild cognitive decline) การรบกวนการรับรู้อย่างจำกัด (Limited cognitive disturbance) โรคสมองเสื่อมลงเล็กน้อย (Minimal dementia) และการรับรู้ที่เสื่อมแต่สมองยังไม่เสื่อม (Cognitive impairment, not dementia : CIND)
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Mental health of older adults - https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults [2019, July 9].