จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 220 : ศาสนากับชราภาพ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-220

      

      อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรสันนิษฐานว่า จิตวิญญาณ (Spirituality) ปราศจากคุณค่า (Value) ในแง่ของสุขภาพกาย และความเป็นอยู่ (Well-being) เพราะนักวิจัยพบว่าระดับของจิตวิญญาณช่วยบรรเทาผลกระทบของการเจ็บป่วย และความอ่อนแอ (Frailty) ของร่างกายของผู้สูงวัย

      การผนวกความเชื่อทางศาสนาให้เข้ากับการบำบัดพฤติกรรมรับรู้ (Cognitive-behavior therapy) สามารถนำมาซึ่งการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องโรคซึมเศร้า (Depression) และอาการวิตกกังวล (Anxiety) ในผู้ป่วยสูงวัย ในบั้นปลายชีวิต ศาสนาควรจะเป็นที่พึ่งทางใจ (Comfort) อย่างไรก็ตาม ไม่มีการศึกษาเชิงประจักษ์ (Empirical study) มากนัก ด้วยเหตุผลทางจริยธรรม (Ethical)

      งานวิจัยชิ้นหนึ่งศึกษาประเด็นนี้ แล้วพบว่าผู้ใกล้ตายซึ่งมีศรัทธาในศาสนา ได้คาดหวัง (Promise) ถึงชีวิตในชาติหน้า (After-life) และแนวความคิดของการตายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล (Cosmic order) ที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก การศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) พบว่า ระดับของความรู้สึกทางศาสนายังคงอยู่ (Stable) หรือเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำในปีสุดท้ายของชีวิต แม้การประกอบกิจทางศาสนาจะลดลง อาจเนื่องจากข้อจำกัดของร่างกาย (Physical limitation)

      ผู้เข้าร่วมวิจัยรายงานว่าศาสนาเป็นแหล่งพี่งพิงทางใจสำหรับผู้ที่กำลังจะจากไป (Bereaved) แต่ในที่สุด (Ultimately) สิ่งที่สำคัญคือการประยุกต์ใช้ความเชื่อทางศาสนากับชีวิตประจำวัน สหสัมพันธ์ (Correlation) นี้ นำมาซึ่งความพึงพอใจต่อชีวิต (Life satisfaction) สำหรับบางคน

      สรุปแล้ว งานวิจัยในเรื่องบุคลิกภาพ (Personality) และวิถีชีวิต (Life-style) ค้นพบว่า โดยไม่มีแบบอย่าง (Type) ที่ตายตัวที่โดดเด่น (Unique) ในบั้นปลายของชีวิต หรืออุปนิสัย (Trait) ที่จำเป็นต้องดำเนินตามรูปแบบ (Pattern) แต่ก็มีบางแบบอย่างของบุคลิกภาพที่ทำให้ผู้คนสามารถรับมือ (Cope) กับบั้นปลายของชีวิต ได้ดีกว่างแบบอื่น

      อย่างไรก็ตาม ข้อโต้แย้งเหล่านี้ ต้องชั่งน้ำหนัก (Weigh) เปรียบเทียบกับข้อวิพากษ์วิจารณ์มากมาย (Considerable criticism) ของการทดสอบบุคลิกภาพและวิธีการ (Methodology) ทางด้านการวิจัย พึงสังเกตว่า การแบ่งประเภท (Taxonomy) ของบุคลิกภาพ ได้รวม (Incorporate) คุณค่าทางอ้อม (Implicit value) ของการพิจารณาไว้ด้วย

      ตัวอย่างเช่น ผู้สูงวัยที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมักมีทัศนคติที่สงบ (Placid) และอดทน (Stoic) ต่อชีวิต แต่นี่เป็นการดำเนินตาม (Conform) รูปแบบตายตัว (Stereotype) ที่ผู้สูงวัยควรเป็นตัวอย่างปู่ย่าตายาย (Grand-parent figures) ตามแบบฉบับ (Archetypal) ที่สุขุมในการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญา (Wisdom-dispensing) หรือผู้ซึ่งไม่เอะอะโวยวาย (Fuss) ในทำนองเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ก็มักซับซ้อน (Complicated) มากกว่าที่ปรากฏในครั้งแรก

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. What have religion and spirituality to do with aging? Three approaches - https://academic.oup.com/gerontologist/article/50/2/271/722827 [2019, June 18].