จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 217 : บทบาทของครอบครัว (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 12 มิถุนายน 2562
- Tweet
นักวิจัยพบว่า สำหรับผู้สูงวัยหญิงแล้ว สุขภาพและการศึกษา สร้าง (Contribute) ความพึงพอใจสูงสุดให้ชีวิต ในขณะที่สำหรับผู้สูงวัยชายแล้ว สุขภาพคือปัจจัยเดียว (Sole) ที่สร้างความพึงพอใจสูงสุดให้ชีวิต สำหรับทั้ง 2 เพศ อิทธิพลของความสัมพันธ์ในครอบครัว เป็นปัจจัยรอง (Minor)
ส่วนมุมมองของผู้สูงวัยในเรื่องความารถของลูกๆ ที่เป็นผู้ใหญ่แล้วให้การเลี้ยงดูพ่อแม่แก่เฒ่า มักเป็นความคิดตรงข้าม (Ambivalent) [กับการคาดหวังของคนทั่วไป] อาจไม่เป็นที่ประหลาดใจนักถ้านักวิจัยบางคนโต้เถียงว่า เราควรถอยห่างจากเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เป็นความผูกพัน (Bond) ของสายโลหิต และการเลี้ยงดูให้เติบโต (Up-bringing) ไปเป็นระดับที่แตกต่างกันของหน่วยสังคม (Social unit)
ข้อแม้ (Caveat) เหล่านี้แสดงว่า บทบาทของครอบครัวในชีวิตผู้สูงวัย มิใช่ชัดเจน (Cut and dry) ตามที่สมมุติกันไว้แต่แรก (Initially supposed) อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า บทบาทดังกล่าวไม่สำคัญ สมาชิกของครอบครัวรับรู้ความสำคัญของความสัมพันธ์ที่กลมเกลียว (Harmonious)
ในการทบทวนวรรณกรรมระดับปรมาจารย์ (Masterly review) จนถึงปัจจุบัน นักวิจัยสังเกตว่า ในขณะที่สมาชิกครอบครัวมักเป็นแหล่งประโลมใจ (Comfort) และความช่วยเหลือในยามวิกฤต (Crisis) ผู้สูงจะมีความรู้สึกซึมเศร้ามากกว่า หากเขาคาดหวังสูงในเรื่องความช่วยเหลือจากญาติๆ (Relatives)
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อมีการคาดหวังมากเกินไป มักตามมาด้วยความผิดหวัง (Disappointment) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitable) แสดงว่า ผู้คนคาดหวังอย่างชัดแจ้งว่า ความสัมพันธ์ในครอบครัว (Familial relations) เป็นสิ่งที่พึ่งพาได้ แต่หากพึ่งพาไม่ได้เมื่อเกิดวิกฤตและต้องการความช่วยเหลือ ก็กลายเป็นการทำลายความสัมพันธ์ในครอบครัว
ข้อสรุปนี้ สอดคล้องกับการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งแสดง (Demonstrate) ให้เห็นว่า ผู้สูงวัยที่มีความสัมพันธ์ไม่สู้ดีนักในครอบครัว มีโอกาส 31% ที่จะถูกส่งไปอยู่ที่ “บ้านดูแลผู้สูงวัย” (Nursing home) เปรียบเทียบกับโอกาสเพียง 12% สำหรับผู้สูงวัยที่มีความสัมพันธ์ดีในครอบครัว
กล่าวคือ ความสัมพันธ์ในครอบครัวมิได้เพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทำตามกฎเกณฑ์อย่างหลับหูหลับตา (Blind obedience to rule) ตัวอย่างเช่น เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าอ่อนแอมาก (Frail) ลูกๆ ก็ต้องนำกลับมาอยู่ที่บ้านด้วยกัน เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ทรงพลัง (Dynamic relationship)
อย่างไรก็ตาม การนำพ่อแม่แก่เฒ่ากลับมาอยู่ที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงลักษณะ (Nature) ของความสัมพันธ์ที่เคยมีตามปรกติ อันที่จริง ความสัมพันธ์ในครอบครัวก่อนและหลังเกิดเหตุการณ์ มีสหสัมพันธ์ (Correlation) ต่อกันอย่างมีนัยสำคัญ
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- The importance of family support in old age - https://www.degruyter.com/downloadpdf/j/fampe.2014.4.issue-1/fampe-2014-0002/fampe-2014-0002.pdf [2019, June 11].