จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 216 : บทบาทของครอบครัว (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 5 มิถุนายน 2562
- Tweet
หากมีทางเลือก ผู้สูงวัยส่วนมากในประเทศทางตะวันตกต้องการมีชีวิตอยู่อย่างอิสระ แต่อาจต้องการอยู่ใกล้ครอบครัว และโดยประเพณีนิยม (Traditionally) ประมาณ 80% ของพ่อแม่สูงวัยมักอยู่ใกล้ครอบครัวลูกๆ (Off-spring) ภายในรัศมี 30 นาที ของการเดินทาง
เราอาจเห็นประโยชน์อย่างเด่นชัด (Distinct) ของครอบครัว ตัวอย่างเช่น ความลำบาก (Hardship) ของผู้สูงวัย อาจได้รับการชดเชยบางส่วนจากปัจจัยครอบครัว แต่ครอบครัวจำเป็นต้องอยู่ใกล้ทางกายภาพ (Physical) จริงหรือ? ในอดีต ครอบครัวจำต้องอยู่ใกล้กัน (Nearby) เพราะลูกที่มีพ่อแม่แก่เฒ่า ต้องให้ความช่วยเหลือทั้งการเงินและทางปฏิบัติ (Practical)
อย่างไรก็ตาม ในโลกสมัยใหม่ ที่เพียบพร้อมด้วยการสื่อสาร (Communications) และการคมนาคม (Transport) ที่ดีกว่าแต่ก่อนมาก ลูกๆ สามารถส่งความช่วยเหลือทางการเงินไปทางอิเล็กทรอนิกส์จากทางไกล (Distance) ในประเทศไทยเรา ผู้สูงวัยจำนวนมากอาศัยอยู่ในชนบท โดยที่ลูกๆ จากหมู่บ้านในชนบท เดินทางไปทำงานในเมือง แล้วส่งเงินกลับบ้านอย่างง่ายดาย
กล่าวคือ เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อน เขาสามารถเลี้ยงดู (Support) พ่อแม่จากทางไกล โดยที่ตนเองไม่ต้องอยู่ใกล้ๆ นักวิจัยพบว่า ลูกๆ ที่ต้องอพยพ (Migrate) ไปอยู่ในเมือง (Urban) ไม่มีภาวะซึมเศร้า (Depression) ที่ต้องทิ้งพ่อแม่แก่เฒ่าไว้ในชนบท ส่วนพ่อแม่แก่เฒ่าที่มีลูกๆ อพยพไปทำงานในเมืองก็มีความซึมเศร้าน้อยกว่าผู้สูงวัยอื่นๆ ในหมู่บ้านเดียวกัน
ข้อควรระวังในการศึกษาผลกระทบของครอบครัวต่อผู้สูงวัยก็คือ ผู้อ่านส่วนมากยึดติดกับ (Armed with) ข้อสมมุติฐานมากหลาย ข้อสำคัญคือความหลงเชื่อ (Myth) ในเรื่อง “วัยทอง” (Golden age) ซึ่งเป็นความคิดในอดีตที่ว่า ครอบครัวขยาย (Extended family) เป็นเกณฑ์ปรกติ (Norm) โดยมีหลายชั่วอายุคน (Multi-generational) อาศัยอยู่ใต้ชายคาเดียวกัน อย่างมีความสุข แต่ท่ามกลางความสกปรกรกรุงรัง (Squalor)
ในความเป็นจริง ชะตากรรม (Fate) ของผู้สูงวัยจำนวนมาก ยากจนเกินกว่าที่จะดูแลตนเอง และครอบครัวขยาย (ซึ่ง 3 ชั่วอายุคนอาศัยอยู่ในชายคาด้วยกัน) เป็นข้อยกเว้นมากกว่าเป็นกฎเกณฑ์ในยุโรป ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 สรุปแล้วก็คือไม่มีช่วง “วัยทอง” ดังกล่าว
แต่ไม่ว่าความจริงจะเป็นอย่างไร มีแนวโน้ม (Temptation) ในบรรดาผู้ปราศจากความเชี่ยวชาญ (Non-expert) ที่จะยอมรับหน้าที่ตามประเพณีที่ต้องดูแลพ่อแม่แก่เฒ่าโดยการให้อยู่อาศัยในบ้านเดียวกัน มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นคนล้มเหลว (Failure) ในบางวัฒนธรรม มีการดูแลผู้สูงวัยมากกว่าวัฒนธรรมอื่น
นักวิจัยพบว่า วัฒนธรรมของทุกกลุ่มชนหมู่น้อย (Ethnic minority) ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ (ยกเว้นครอบครัวจากแถบทะเลแคริบเบียน [Caribbean]) ให้การเลี้ยงดูพ่อแม่แก่เฒ่าของตนเอง เหมือนวัฒนธรรมชาวอังกฤษผิวขาว
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- The importance of family support in old age - https://www.degruyter.com/downloadpdf/j/fampe.2014.4.issue-1/fampe-2014-0002/fampe-2014-0002.pdf [2019, June 4].