จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 215 : ทฤษฎีถดถอยจากสังคม (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-215

      

      อย่างไรก็ตาม รูปแบบสุดขั้ว (Extreme) ของทฤษฎีกิจกรรม (Activity theory) ก็เป็นข้อโต้แย้งที่ไม่น่าพิสมัย (Unattractive) ในการทดแทนทฤษฎีถดถอยจากสังคม (Disengagement theory) ภาพลักษณ์ (Image) ที่แสดงออกคือฝูงชนสังคม (Horde of social workers) ที่บังคับ (Force) ให้ผู้สูงวัยปนเป (Mix) ไปกับผู้อื่นเพื่อประโยชน์ของผู้สูงวัยเอง

      แต่ภาพลักษณ์ดังกล่าว เป็นแรงขับภาคบังคับ (Compulsory drive) ที่ไม่น่ารื่นรมย์ (Unpleasant) นัก และก็ไม่จำเป็นจะต้องได้ประสิทธิผล (Effective) เสมอไป กิจกรรมสังคมมักปะปน (Confound) ไปกับระดับของสุขภาพ กล่าวคือ ผู้สูงวัยต้องมีสุขภาพค่อนข้างแข็งแรง จึงจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม

      ดังนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจที่งานวิจัยพบว่า ผู้สูงวัยที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคม มักมีสุขภาพแข็งแรงด้วย นักวิจัยยังพบว่า เมื่อสุขภาพถูกควบคุมในเชิงสถิติ (Statistically controlled) แล้ว กิจกรรมที่เป็นประโยชน์มากที่สุด ซึ่งช่วยยืดอายุคาดของชีวิต (Life expectancy) กลับเป็นกิจกรรมที่ทำโดยลำพัง (Solitary)

      ความเห็นสมัยใหม่ที่สอดคล้องกัน (Modern consensus) ก็คือ ทั้งทฤษฎีถดถอยจากสังคม และทฤษฎีกิจกรรม ต่างอธิบายกลยุทธ์สุดยอด (Optimal strategy) สำหรับผู้สูงวัยบางคนเท่านั้น มิใช่สำหรับทุกคน ซึ่งก็ยังดีกว่าการขึ้นอยู่กับนานัปการ (Variety) ของปัจจัย อาทิ สถานการณ์ (Circumstance) ทางการเงิน และการมีชีวิตที่กระฉับกระเฉง

      อันที่จริง ปัจจัยอื่นๆ อาจเป็นร่างกายที่แข็งแกร่ง (Vigor) สำหรับงานอดิเรก และประเภทของบุคลิกภาพ อาทิ คนเก็บตัวหรือปิดตัวเอง (Introvert) มักไม่ชอบวิถีชีวิตของการเข้าสังคม ส่วนระดับกิจกรรมในบั้นปลายของชีวิต อาจอธิบายได้ด้วยพฤติกรรมในเบื้องต้นของชีวิต

      ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาข้ามห้วงเวลา(Longitudinal) นักวิจัยพบว่า ระดับของเป้าประสงค์ (Purposiveness) ณ อายุ 40 ปี สามารถพยากรณ์ (Predict) อย่างน่าทึ่งถึงจุดมุ่งหมาย (Goal) ของกิจกรรมที่จะแสวงหาอย่างกระตือรือร้น (Actively sought) เมื่ออายุ 80 ปี

      พึงสังเกตว่า จำนวนไม่น้อยของงานวิจัย พบการมีส่วนร่วมในสังคมที่เพิ่มขึ้น ช่วยปรับปรุงความเป็นอยู่ในกลุ่มชนที่มีรายได้ต่ำ (Low income) อย่างไรก็ตาม พึงสังเกตว่า การถดถอยจากสังคม อาจแสดงถึง (Indicative) การเบียดเบียน (Encroach) จากโรคภัย และมีสหสัมพันธ์กับระดับการตาย (Mortality) [ใกล้ตาย]

      ดังนั้น แม้จะมีความระมัดระวัง (Caution) ในการขนานนาม (Label) เฉพาะสำหรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ (Undesirable) การถอนตัว (Withdrawal) [จากสังคม] ในบางกรณี (Instance) อาจเป็นสัญญาณเตือนแต่เนิ่นๆ ของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Disengagement theory - https://en.wikipedia.org/wiki/Disengagement_theory [2019, May 28].