จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 209 : การสมรสกับชราภาพ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-209

      

      การเปลี่ยนแปลงในสถานะของคู่สมรส มีอิทธิผลต่อการเปลี่ยนแปลงของคู่สมรส แต่มักจะอยู่ในลักษณะ (Fashion) ที่ซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมุ่งเน้น (Concentrate) ที่คู่สมรส จึงอาจมีแนวโน้ม (Tempting) ตามธรรมเนียมปฏิบัติ (Mores) ว่า การค้นพบนี้น่าจะเป็นจริงสำหรับคู่ครองที่อยู่ร่วมกัน (Cohabit) [โดยไม่ได้แต่งงานกัน]

      การศึกษาเรื่องผู้สูงวัยที่อยู่ร่วมกัน โดยมิได้แต่งงานกันยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น (Infancy) บางงานวิจัยพบว่า มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างคู่สมรสกับผู้อยู่ร่วมกันโดยมิได้แต่งงาน แต่ก็มีบางงานวิจัยที่แสดงผลว่า การแต่งงานได้ประโยชน์ (Advantageous) มากกว่า

      นักวิจัยยพบว่า ชายผู้อยู่ร่วมกันโดยมิได้แต่งงานมีระดับของความซึมเศร้า (Depression) ที่สูงกว่าสามีของคู่สมรส แม้ว่าหลังการควบคุมปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคม (Socio-economic) สุขภาพ และระดับการสนับสนุนทางสังคม ในการเปรียบเทียบคู่สมรสชาวแคนาดากับชายโสด ชายที่แต่งงานแล้วมีแนวโน้มที่จะซึมเศร้าน้อยว่าชายที่มิได้แต่งงาน ในขณะที่สัดส่วนของหญิงที่ซึมเศร้าคล้ายคลึงกันระหว่างหญิงที่แต่งงานและหญิงที่มิได้แต่งงาน

      กรณีการสมรสของเพศเดียวกัน (Same-sex marriage) เป็นปรากฏการณ์ (Phenomenon) ที่ค่อนข้างใหม่ ในการสัมภาษณ์คู่สมรสดังกล่าวที่มีอายุระหว่าง 56 ถึง 73 ปี นักวิจัยพบว่า การแต่งงานของเพศเดียวกัน ทำให้เขาทั้งคู่รู้สึกมั่นใจ (Secure) ขึ้น และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีความหวาดหวั่น (Misgivings) ไม่น้อยในการสมรสของเพศเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้การสมรสของเพศเดียวกันยังอยู่ในช่วงเวลาที่เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น และอาจนำมาซึ่งทัศนคติที่เปลี่ยนไป เมื่ออนาคตมาถึง

      เป็นข้อสังเกตธรรมดา (Commonplace) ว่า นานาสื่อ (Media) ได้ฉายภาพ (Portray) ว่า ความรู้สึกเรื่องเพศ (Sexuality) เป็นเรื่องของหนุ่มสาว และอารมณ์ขบขันของการเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงวัย (Ageist humor) มักกำหนด (Dictate) ว่า ผู้สูงวัยที่ยังมีความต้องการทางเพศ เป็น “เฒ่าหัวงู” (Dirty old men) อันเป็นเรื่องที่น่าเกลียด (Ugly) และสิ้นหวัง (Desperate)

      ในสตรีผู้สูงวัยบางคน นานาสื่อได้ขนานนาม (Label) ว่า “ยังมีแรงกระตุ้นทางเพศ” (Sexy) เพราะเธอมักดูอ่อนกว่าวัย แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้สูงวัยมิได้รับการสนับสนุนจากแหล่งต่างๆ ว่าความต้องการทางเพศในผู้สูงวัยในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องปรกติ (Normal) และเป็นเรื่องของสุขภาพที่ดีด้วย

      ดังนั้น จึงไม่แปลกใจที่นักวิจัยพบว่า การยอมรับ (Profess) ในเรื่องความสนใจทางเพศลดลงหลังจากอายุ 50 ปี อันสืบเนื่องจาก (Attributed) มุมมองของสังคมในเชิงลบ แม้ว่าบางส่วนของแรงขับทางเพศ (Sex drive) เป็นผลกระทบมาจากการเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาล

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Marriage in Old Age - https://publishing.cdlib.org/ucpressebooks/view?docId=kt9z09q84w&chunk.id=ch14&toc.id=ch09&brand=ucpress [2019, April 16].