จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 203 : สู่ปัจจัยทางจิตและสุขภาพ (3)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 6 มีนาคม 2562
- Tweet
นักวิจัยเชื่อว่า ภาวะซึมเศร้า และ/หรือ ความเครียด อาจเป็นสาเหตุของสุขภาพที่ทรุดโทรมได้ อาทิ ไปกดทับ (Suppress) ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune) ไว้ ในการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal) 7 ปี นักวิจัยพบผลกระทบในเชิงบวก ที่สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับระดับต่ำของความเสี่ยงหรือความเปราะบาง (Frailty) ในบรรดาผู้สูงวัยชาวอเมริกันเชื้อสายเม็กซิกัน (Mexican American)
การได้รับคำตำหนิ (Exposure to negative comments) อย่างต่อเนื่อง (Persistent) เกี่ยวกับแบบฉบับ (Stereotype) ของชราภาพและผู้สูงวัยเป็นระยะเวลายาวนาน อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพที่เสื่อมถอยลง (Deteriorating) อาทิ การเพิ่มขึ้นของความดันโลหิต (Blood pressure) และมาตรวัดอื่นทางสรีรวิทยา (Physiological measures) ของความเครียด
การนำเสนอที่อ่อนแอ (Subliminal presentation) เหล่านี้ หักล้าง (Refute) คำกล่าวโบราณ (Adage) ของ “คนแก่หนังเหนียว” (Sticks and stones) ในทางกลับกัน (Conversely) ก็มีประจักษ์หลักฐานว่า สุขภาพกายมีผลกระทบต่อการทำงาน(Functioning) ของจิตใจ
ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบ การสนองตอบที่ร้ายแรง (Severe response) ต่อความเจ็บปวดทางร่างกายของโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteo-arthritis) ในสตรีสูงวัยที่แต่งงานแล้ว โดยมีผลกระทบในเชิงลบต่อพฤติกรรมของตนเองและของสามี ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (Life-style) เพื่อช่วยปรับปรุงสุขภาพให้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม อาจเป็นการไร้เดียงสา (Naïve) ถ้าจะตั้งข้อสมมุติฐานว่า ประเด็นดังกล่าว สามารถอธิบายอย่างง่ายๆ ว่า A เป็นสาเหตุให้เกิด B การอธิบายที่มีความน่าจะเป็น (Probable) ก็คือผลกระทบดังกล่าว มีหลากหลายทิศทาง (Multi-directional) และอันที่จริงเป็น “วงจรอุบาทก์” (Vicious cycle) ของการทำงานที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Mal-adaptive)
ตัวอย่างเช่น สุขภาพที่เสื่อมถอย (อาทิ การหกล้มของผู้สูงวัย) เป็นสาเหตุของการเกิดความเครียดและภาวะซึมเศร้า ซึ่งทำให้สุขภาพแย่ลงไปอีก อันที่จริงการหกล้มไม่ใช่สิ่งที่น่ารื่นรมย์สำหรับคนทุกวัยอยู่แล้ว แต่มันนำมาซึ่งความเสี่ยงที่สูงขึ้นในบั้นปลายของชีวิต การวิจัยหนึ่งแสดงผลว่า ผู้สูงวัยมีโอกาส 1 ใน 3 ที่จะทนทุกข์ทรมาน จากการทำงานที่เสื่อมถอยลงของร่างกาย หลังจากการหกล้ม
สาเหตุหลัก (Principal) ก็คือ กระดูกที่เปราะบาง (Brittle) ของผู้สูงวัย หมายถึงการแตกหักง่ายของกระดูกสะโพก และขา มีความเป็นไปได้สูงอย่างเด่นชัด (Distinct) รวมทั้งแนวโน้มอื่นๆ ของการบาดเจ็บ (Injury) ผู้สูงวัยที่เคยหกล้ม มักไม่เต็มใจที่จะมีประสบการณ์ซ้ำ แต่ความระมัดระวัง (Caution) ที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิด (Engender) ผลดันทุรัง (Perversely) ซึ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Psychological well-being, health and ageing https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4339610/ [2019, March 5].