จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 202 : สู่ปัจจัยทางจิตและสุขภาพ (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 27 กุมภาพันธ์ 2562
- Tweet
การหลีกเลี่ยงน้ำหนักเพิ่ม (Gain) อาจเกี่ยวข้องกับข้อจำกัดของการรับรู้ (Cognitive restraint) ในผู้ใหญ่สูงวัยมากกว่าในผู้ใหญ่เยาว์วัย ปัจจัยอื่นอาจมีราก (Root) ที่ชอนลึกไปกว่าอดีตของบุคคล นอกจากนี้ ผู้คนจำนวนไม่มากเพาะนิสัยไม่ดีในบั้นปลายของชีวิต อาทิ ผู้สูบบุหรี่สูงวัย ได้ทำร้าย (Abuse) ร่างกาย มาเป็นเวลาหลายสิบปี ดังนั้นการพยายามให้ผู้สูงวัยเปลี่ยนวิถีชีวิตในบางกรณี อาจเป็นการต่อสู้นับสิบๆ ปีกับพฤติกรรมปรับตัวผิดๆ (Maladaptive behavior)
การจูงใจตนเอง (Self-motivation) เป็นปัจจัยที่สำคัญในการริเริ่มและดำรงไว้ซึ่งการออกกำลังกายที่เข้มงวด (Exercise regime) ดังนั้น ปัจจัยที่ลดแรงจูงใจตนเอง จะเป็นอุปสรรคสำคัญ (Marked impediment) ในการดักขวางการออกกำลังกาย ตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่สูงวัย อาจไม่เต็มใจ (Reluctant) ที่จะออกกำลังกาย เนื่องจากความกลัวความเสี่ยงมากกว่า (Outweigh) ผลประโยชน์ อาทิ หัวใจวาย (Heart attack) จากการออกกำลังกายที่หักโหม (Over-exertion)
นอกจากนี้ ผู้สูงวัยมักไม่ค่อยมีผู้คนรอบข้างที่คอยให้กำลังใจ (Encourage) หรือต่อว่า (Nag) ในเรื่องพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสุขภาพ และสถานะของบุคคลที่แนะนำวิถีชีวิตที่แข็งแรงจำเป็นต้องได้รับการพิจารณา นักวิจัยพบว่า พยาบาลที่น้ำหนักเกิน (Over-weight) นำมาซึ่งความเชื่อมั่นที่น้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพยาบาลที่ได้น้ำหนักในอุดมคติ (Ideal)
ดังนั้น อุปสรรค (Obstacle) จึงอยู่ที่การรับเอา (Adopt) ความเป็นอยู่ที่แข็งแรง แต่เมื่อผ่านพ้นสิ่งกีดขวาง (Barrier) นี้แล้ว การศึกษาจำนวนมากมาย (Numerous) และข้าม (Across) หลากหลาย (Diverse) วัฒนธรรม พบว่า สุขภาพดีขึ้นหลังการรับเอาวิถีชีวิตที่แข็งแรง
อย่างไรก็ตาม พึงสังเกตว่า การศึกษาที่ใช้การรายงานสุขภาพตนเอง มักก่อให้เกิดค่าสหสัมพันธ์ที่สูงกว่าเมื่อใช้มาตรวัดที่เที่ยงตรง (Objective measure) ของสุขภาพกาย (Physical health) นอกจากนี้ พึงสังเกตว่า ความแข็งแรง (Strength) ของความสัมพันธ์มีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลง (Weaken) ในผู้มีอายุสูงสุดของบรรดาผู้สูงอายุทั้งกลุ่ม
การรับเอาวิถีชีวิตที่แข็งแรง อาจนำไปสู่สุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งไม่น่าแปลกใจ อย่างไรก็ตาม คำถามที่น่าสนใจก็คือ นักวิจัยพบอะไรในความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพแข็งแรงโดยทั่วไปของวิถีชีวิตกับสุขภาพที่แท้จริง? อะไรเป็นเหตุและอะไรเป็นผล? ในระดับง่ายสุด เราอาจตั้งคำถามว่า การมีบุคลิกภาพ (Personality) หรือวิถีชีวิตที่เหมาะสม ทำให้สุขภาพแข็งแรงหรือไม่? หรือการมีสุขภาพแข็งแรง ทำให้มีบุคลิกภาพหรือวิถีชีวิตที่เหมาะสม? คำถามง่ายๆ ทั้งสอง มีประจักษ์หลักฐานของมันเอง
ตัวอย่างเช่น คุณลักษณะพิเศษทางจิต (Psychological characteristics) มีผลกระทบต่อสุขภาพทางกาย เราได้เห็นการศึกษามากมายในเรื่องบุคลิกภาพที่ครอบงำ (Possess) อุปนิสัย (Trait) ในเบื้องต้นของชีวิต ซึ่งสามารถพยากรณ์ (Predict) สุขภาพในบั้นปลายของชีวิต
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Psychological well-being, health and ageing https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4339610/ [2019, February 26].