จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 198 : ความเป็นอยู่ในวัยเกษียณ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-198

      

      นักวิจัยกลุ่มหนึ่งรายงานว่า ระดับการสนับสนุนของสังคมและครอบครัว อาจช่วยผ่อนคลาย (Ease) ปัญหาทางการเงิน ซึ่งสะท้อนในการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal study) ของนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่ง ที่พบว่า หากผู้สูงวัยได้รับการสนับสนุนยิ่งน้อย ณ จุดเริ่มต้นของการศึกษา ผู้สูงวัยยิ่งมีกลุ่มอาการซึมเศร้า (Depressive symptoms) ในเวลา 1 ปีให้หลัง โดยยิ่งมีประสบการณ์ของความวุ่นวาย (Hassle) ในชีวิตประจำวัน

      ปัจจัยบุคลิกภาพ (Personality) อาจมีบทบาทสำคัญ ตัวอย่างเช่น ผู้ทำงานแบบบูรณาการ (Well-integrated individual) จะสามารถรับมือ (Cope) กับความเครียด (Stress) ได้ดีกว่า ผู้ทำงานแบบไร้ระเบียบ (Disorganized) ในทางกลับกัน (Conversely) ผู้ที่มีสุขภาพที่ย่ำแย่และขัดสนเรื่องเงินทอง สามารถรับมือกับความเสื่อมถอยของทั้งสุขภาพและความมั่งคั่งได้ดีกว่า เพราะเขาคุ้นเคยอยู่แล้ว

      พึงสังเกตว่า นอกเหนือจากประเภทของบุคลิกภาพแล้ว ปัจจัยทางจิต (Psychological factor) อื่นๆ อาทิ สติปัญญา (Intellectual) และการประเมินข้องคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) อาจลดถอย (Dent) ตัวอย่างเช่น ผู้สูงวัยที่หยั่งรู้ (Perceive) ว่า ผล (Performance) ของงานที่เกี่ยวกับความทรงจำ (Memory task) แย่ลง อาจทำให้ขวัญกำลังใจ (Morale) ของเขาลดลงด้วย ซึ่งเป็นอุปสรรคดักขวาง (Hamper) ความสามารถของเขาอีกทอดหนึ่ง

      อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปัญหาทางการเงินเป็นสาเหตุสำคัญของความรู้สึกในเชิงลบสำหรับผู้ใหญ่สูงวัยจำนวนมาก แต่มันมิใช่ปัญหาครอบจักรวาล (Universal) และก็มิได้ครอบงำ (Dominate) ชีวิตของผู้สูงวัยทุกคน รวมทั้งในกรณีปราศจากเงินที่เป็นประเด็นของชีวิตแต่ละบุคคล

      นักวิจัยกลุ่มหนึ่งพบว่า ปัญหาทางการเงินเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัจจัยที่มีความสำคัญพอๆ กัน (Roughly equal importance) ซึ่งสะท้อนการค้นพบของอีกกลุ่มนักวิจัยหนึ่ง พึงสังเกตว่า อุปสรรคทางการเงิน (Financial difficulty) อาจสัมพันธ์ (Associated) กับเงื่อนไขอื่นที่อาจย่ำแย่ (Other poor conditions)

      ตัวอย่างเช่น ผู้อาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม (Run-down) ที่¬ปราศจากสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) มักก่อให้เกิดวงจรอุบาท์ (Vicious cycle) เนื่องจากผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะมีเพื่อนบ้านเรือนเคียงที่ยากจน (Poor neighbors) ซึ่งจะมีแนวโน้มที่ไม่เป็นมิตร (Hostile) และมีแนวโน้มที่จะไม่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

      ความจำเป็นที่มิได้รับการสนองตอบ (Unmet need) เป็นสาเหตุหลัก (Key contribution) ของโรคซึมเศร้า (Depression) ในผู้ใหญ่สูงวัย แต่การปรากฏ (Presence) ของปัจจัยอื่นอาจมีผลกระทบต่อปัญหาทางการเงิน ซึ่งช่วยเยียวยา (Ameliorated) ในผู้สูงวัยที่อดทนยอมรับ (Suffer in silence) สรุปแล้ว ทัศนคติช่วยหล่อหลอม (shape) ผลกระทบของปัญหาอื่นๆ ได้

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Psychological well-being, health and ageing https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4339610/ [2019, January 29].