จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 195 : ผลกระทบของวัยเกษียณ (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 9 มกราคม 2562
- Tweet
นักวิจัยได้ศึกษาชาวดัชต์ (Dutch) ที่เข้าใกล้ (Approaching) วัยเกษียณ แล้วพบว่า การรวม (Combination) ของหลายปัจจัย (อาทิ ระดับ (Degree) การควบคุมว่าเมื่อไรจะเกษียณจากการทำงาน, ระดับของความกังวล (Anxiety) และความคาดหวังเกี่ยวกับกระบวนการของวัยเกษียณ, และสมรรถนะส่วนตัว [Self-efficacy]) สามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการปรับตัว (Adjust) ให้เข้ากับวัยเกษียณได้
ปัจจัยเหล่านี้แตกต่างอย่างมาก (Considerably) ระหว่างบุคคล โดยที่นักวิจัยตั้งข้อสังเกตนานัปการ รวมทั้งความแตกต่างทางวัฒนธรรมและระหว่างชาติ งานวิจัยเกี่ยวกับวัยเกษียณ ส่วนใหญ่ (Majority) กระทำกันในประเทศที่มีสวัสดิการรัฐ (State welfare) ซึ่งก้าวหน้าพอสมควร (Reasonably advanced) อาทิ มีกองทุนบำนาญแห่งชาติ (National pensions)
อย่างไรก็ตาม แม้ในประเทศที่ดูเหมือนจะจัดให้มีสวัสดิการรัฐ ก็อาจมีความแตกต่างในพฤติกรรมของผู้เกษียณอายุ ตัวอย่างเช่น ในประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands) การเกษียณก่อนกำหนด มักเป็นสิ่งธรรมดาสามัญ เมื่อเปรียบเทียบกับเดนมาร์ก (Denmark) ซึ่งไม่ค่อยพบเห็น (Rare) ผลกระทบดูเหมือนจะอธิบายได้ด้วยการรวบรวมที่ซับซ้อน (Complex collection) ของแนวทางปฏิบัติ (Practice) ที่แตกต่างกันทางวัฒนธรรม และธรรมเนียมปฏิบัติ (Mores) ของสังคม
ส่วนคำถามที่ 2 เรื่องผู้คนวางแผนอย่างไรสำหรับวัยเกษียณ? คำตอบอาจมีหลากหลายแง่มุม (Multi-faceted) เราเห็นเด่นชัดว่าวัยเกษียณเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา (Desirable) ของผู้คนส่วนมาก ชาวยุโรปได้เห็น (Witness) อารมณ์เดือดพล่าน (Furor) ในหลายๆ ประเทศที่ต้องเผชิญกับข้อเสนอ (Proposal) ให้เขยิบอายุรับบำนาญ (Pensionable age) ให้สูงขึ้น
สิทธิของการเกษียณและ “การลิ้มรสของความสำเร็จ” (Fruit of labor) เป็นสิทธิที่โอนกันไม่ได้ (Inalienable right) แม้ว่าสวัสดิการรัฐ เป็นสิ่งประดิษฐ์ (Invention) ที่ค่อนข้างใหม่ การสำรวจทัศนคติต่อการทำงานที่เลยวัยเกษียณ มักพบการต่อต้านสุดขั้ว (Extreme opposition) จากคนงานส่วนมาก ซึ่งโดยทั่วไปต้องการเกษียณ “ก่อน” มากกว่า “หลัง” กำหนด
นักวิจัยได้สัมภาษณ์ตัวอย่างคนงานชาวอิตาลี (Italian workers) แล้วพบว่า ถัวเฉลี่ยแล้ว เขาเหล่านั้นต้องการเกษียณก่อนวัยที่กำหนดโดยกฎหมาย (Statutory age) สัก 3 ปี อย่างไรก็ตาม ทัศนคติดังกล่าว เป็นสิ่งที่ยืดหยุ่นได้ (Malleable) และอาจถูกหล่อหลอม (Shape) โดยนโยบายของบริษัทที่เอื้ออำนวยต่อชราภาพ (Age-friendly)
ผู้คนที่เข้าใกล้วัยเกษียณมักเห็นภาพที่สดใส (Rose-tinted) ของวัยหลังเกษียณ ความสนใจหลักมักเป็นโอกาส (Prospect) ของงานอดิเรก (Hoppy) ใหม่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว งานหลังเกษียณขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย นักวิจัยพบเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการทำกิจกรรมหลังเกษียณภายในองค์กรของมหาวิทยาลัยว่า แก่นแท้มาจากภายใน (Intrinsic) อาทิ ความต้องการเพิ่มพูนความรู้ มากกว่าแรงกดดันจากภายนอก (Extrinsic pressure) อาทิ ความคาดหวังจากผู้อื่น
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- The Effects of Retirement on Physical and Mental Health Outcomes - https://www.nber.org/papers/w12123 [2019, January 8].